วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

ก๊าซเหลว LNG





                ปตท เป็นผู้นำเข้าก๊าซเหลวหรือ LNG เข้ามาใช้งานในบ้านเรา หลายคนอาจจะตั้งคำถามว่า LNG เป็นก๊าซตัวใหม่หรือและเมื่อนำเข้ามาแล้วถ้าจะนำไปใช้กับรถยนต์จะได้หรือไม่หรือจะมีปัญหาอะไรบ้างไหมก็ต้องย้อนกล่าวไปถึงเรื่องก๊าซธรรมชาติที่ได้จากการขุดเจาะทั้งใต้ทะเลและบนบก ถ้าเอาแกลลอนสักหนึ่งลิตรตักเอาก๊าซธรรมชาติที่ได้ขึ้นมาตรวจดู จะเห็นว่าก๊าซหนึ่งลิตรนั้นจะเป็นก๊าซมีเทน (Methane CH4) ไปประมาณร้อยละ87 ส่วนที่เหลือที่ผสมอยู่จนเต็มลิตรนั้นก็จะมีก๊าซอีกหลายตัว ที่โรงแยกก๊าซสามารถจะแยกเอาไปใช้งาน ทั้งในเชิงพาณิชย์และการอุตสาหกรรมได้มากมาย เช่น Propane, Butane, CO2, Ethane etc ก๊าซธรรมชาติที่แยกออกมานี้ถ้าส่งออกไปขายโดยส่งไปตามท่อจะเรียกว่า Sales gas หรือ PNG Pipe Natural Gas หรือถ้าจับเอาโพรเพนกับบิวเทนมาผสมกันในอัตราส่วนที่พอเหมาะเช่น 60:40 หรือ70:30 แล้วบรรจุลงในถัง ก็จะกลายเป็นก๊าซหุงต้มหรือก๊าซ LPG (Liquefied Natural Gas)ที่เรารู้จักกันดี ก๊าซมีเทนที่เหลือ เมื่อนำมาอัดด้วยแรงดันสูงบรรจุเข้าไว้ในถังที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษที่ทนแรงดันได้มากกว่า200บาร์(200เท่าของแรงดันบรรยากาศรอบตัวเรา)ก็จะถูกเรียกว่าก๊าซ CNG (Compressed Natural Gas) ที่เอามาเป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ทุกชนิดในบ้านเราที่ถูกเรียกกันว่า NGV (Natural Gas for Vehicle) ก๊าซมีเทนที่ถูกนำมาอัดเข้าถังแม้จะสะดวกในการใช้งานและการขนส่ง แต่ก็ยังถือว่าไม่สะดวกมากนักกับการขนส่งเพราะได้ปริมาณครั้งละไม่มากเมื่อเทียบกับปริมาณที่ต้องการในการนำไปใช้ทำเชื้อเพลิงการนำมีเทนหรือก๊าซธรรมชาติมาทำให้เป็นของเหลวโดยการใช้ความเย็นที่ ลบ162องศาเซลเชียส หรือที่ลบ260องศาฟาเรนท์ไฮต์ นั้นจะทำให้ได้ปริมาตรที่มากขึ้นถึง600เท่า(มีเทนก๊าซ 600ลิตรเมื่อทำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิดังกล่าวจะเหลือเพียง1ลิตร) ก็จะได้เป็นก๊าซเหลวที่เรียกว่า LNG Liquefied Natural Gas ทำให้สะดวกในการขนส่งไปยังแหล่งที่ต้องการใช้งาน ถ้ามองกันแค่นี้ก็ไม่น่ายากที่จะทำให้เกิดขึ้น และปตท.ควรจะทำมาตั้งนานแล้ว แต่ในความเป็นจริงนั้นกระบวนการที่จะทำให้ก๊าซธรรมชาติเป็นก๊าซเหลวนั้นไม่ยาก ความยากอยู่ตรงที่ว่า กาซธรรมชาติที่มีมีเทนอยู่ร้อยละ87 นั้น ถ้าจะนำมาทำเป็น LNG ที่มีคุณสมบัติตามที่ผู้ใช้ต้องการนั้นจะต้องแยกเอาเพียงแต่ก๊าซมีเทนให้ได้ความบริสุทธิ์มากกว่าร้อยละ95  ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผู้ที่จะนำLNG มาใช้เป็นเชื้อเพลิงนั้นจะใช้ก๊าซที่ได้(มี)ค่าความร้อนที่ไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับประเภทของงานหรืออุตสาหกรรมที่ใช้ แต่มีเทนที่บริสุทธิ์นี้จะมีค่าความร้อนที่คงที่ ผู้สั่งหรือผู้ซื้อจะต้องแจ้งไปยังผู้ขายว่าต้องการ LNG ที่มีค่าความร้อนเท่าใด ตัวอย่างเช่นโรงแยกก๊าซหรือผู้ผลิต LNG (รายใหญ่สุดคือประเทศการ์ต้า ผู้ซื้อรายใหญ่สุดคือญี่ปุ่น)  ผลิต LNG ได้ค่าความร้อนออกมาเป็น100บีทยู แต่อุตสาหกรรมในญี่ปุ่นต้องการ LNG ที่มีค่าความร้อน 110 บีทียู ผู้ผลิตก็จะเติมก๊าซโพรเพนเข้าไปตามอัตราส่วนที่เหมาะสมจึงจะได้ค่าความร้อนที่ญี่ปุ่นต้องการ หรือในทางกลับกัน ปตท ของเราต้องการ LNG ที่มีค่าความร้อนเพียงแค่90บีทียู ผู้ผลิตก็จะเติมบิวเทนลงไปตามอัตราส่วนเพื่อให้ได้ค่าความร้อนที่ ปตท ต้องการ  LNG ที่ได้ค่าความร้อนตามที่ต้องการแล้วจึงเข้ากระบวนการทำให้เป็นของเหลว ก็จะทำการขนส่งด้วยเรือหรือยานพาหนะอื่นๆที่ควบคุมความเย็นให้คงที่ที่ลบ162องศา เข้าสู่สถานีรับก๊าซที่ต้องถูกสร้างให้สามารถกักเก็บก๊าซเหลวที่อุณหภูมิติดลบได้ตลอดเวลา เมื่อจะนำไปใช้งานก็จะผ่านกระบวนการทำให้เป็นก๊าซเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการใช้งานต่อไป    อย่างไรก็ตาม LNG ก็คือ NGV ที่อยู่กันคนละสถานะเท่านั้น เมื่อใดที่มีความจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้งานในภาคขนส่งหรือในรถยนต์ ก็สามารถที่จะนำมาใช้ได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องดัดแปลงเสริมแต่อุปกรณ์ชิ้นส่วนใดๆในรถยนต์เพราะ เมื่อจะนำมาใช้ในรถยนต์สถานีเติมก๊าซจะต้องเปลี่ยนสถานะของLNG ให้เป็น NGV เสียก่อนจึงจะเติมเข้าไปในถังบรรจุก๊าซในรถยนต์ได้ ผู้ใช้รถน่าจะได้รับผลดีจากการใช้LNG มากขึ้น เพราะ LNG เป็นก๊าซธรรมชาติที่มีความบริสุทธิ์ของมีเทนมากกว่าที่มีอยู่ในNGV บ้านเราในปัจจุบัน ทำให้สบายใจหายห่วงได้ในเรื่องสำหรับคุณภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น