วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

Flow Chart : กระบวนการผลิตแสงโซล่าเซลล์



กว่าจะออกมาเป็นแผงแสงโซล่าเซลล์ที่เราเห็นทุกวันนี้มันไม่ไช่เรื่องง่ายเลยครับ อุตสาหกรรมการผลิตแผงโซล่าเซลล์จะต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก และใช้ไฟฟ้าค่อนข้างมากดังนั้นโรงงานที่จะผลิตพวกแผ่นเวฟเฟอร์จะเลือกเปิดโรงแถวประเทศที่มีค่าไฟฟ้าถูก เช่น จีน ส่วนประเทศไทยมีโรงงานต้นน้ำอยู่โรงเดียวอยู่ที่จังหวัดราชบุรี นอกนั้นจะเป็นปลายน้ำหมด


Flow Chart : กระบวนการผลิตแสงโซล่าเซลล์



วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

Flow Chart Steel Making Process

การผลิตเหล็กตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ




Flow Chart Steel Making Process : กว่าจะเป็นรถแบบนี้คันนี้ได้ต้องผ่านกระบวนการและขั้นแบบใดบ้างตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำมาดูกัน



การผลิตเหล็กตั้งแต่ต้น้ำจนถึงปลายน้ำ



วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

#25 by Zhuge Liang




"ขงเบ้ง" หรือ "จูกัดเหลียง" (Zhuge Liang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ซึ่งได้รับการขนานนามจากใครต่อใครว่าเป็น"ผู้หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร" เรามักเห็นภาพวาดของขงเบ้งในชุดนักพรต ถือพัดขนนก ใบหน้าขาว แต่งกายดูภูมิฐาน บุคลิกลักษณะของขงเบ้งที่ใครต่อใครต่างกล่าวถึง คือความเฉลียวฉลาดทางการรบและไหวพริบปฏิภาณที่เป็นเลิศ รวมถึงวาจาอันคมคายบาดจิต ซึ่งเรียกได้ว่าคลาสสิคมาถึงยุคปัจจุบัน เพราะใช้เป็นแง่คิดชีวิตได้อย่างดี 

เราลองมาดูข้อคิดทั้ง 25 ข้อที่มาจากขงเบ้ง เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างฉลาดกันดีกว่า


1. ถ้าคุณคิดจะเป็นใหญ่ คุณก็จะได้เป็นใหญ่ ถ้าคุณคิดอยากเป็นอะไรคุณก็จะได้เป็นสิ่งนั้

2. เพราะแสวงหา มิใช่เพราะรอคอย เพราะเชี่ยวชาญ มิใช่เพราะโอกาส เพราะสามารถ มิใช่เพราะโชคช่วย ดังนี้แล้ว "ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน"

3. นกทำรังให้ดูไม้ ข้าเลือกนายให้ดูน้ำใจ

4. ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด

5. ผู้ที่เล็กที่สุด ก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด

6. ผู้ที่มีเกียรติ คือ ผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น

7. ถ้าสติไม่มา ปัญญาก็ไม่มี

8. ไม้คดใช้ทำขอ เหล็กงอใช้ทำเคียว แต่คนคดเคี้ยวใช้ทำอะไรไม่ได้เลย

9. เล่นหมากรุก อย่าเอาแต่บุกอย่างเดียว เดินหมากรุกยังต้องคิด เดินหมากชีวิต จะไม่คิดได้อย่างไร

10. เมื่อใครสักคนหนึ่งทำผิด ท่านอย่าเพิ่งตำหนิหรือต่อว่าเขา เพราะถ้าท่านเป็นเขา และตกอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นเดียวกับเขา ท่านอาจจะตัดสินใจทำเช่นเดียวกับเขาก็ได้

11. การบริหารคือการทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยมือผู้อื่น

12. ผู้ปกครองระดับธรรมดา ใช้ความสามารถของตนอย่างเต็มที่

13. ผู้ปกครองระดับกลาง ใช้กำลังของคนอื่นอย่างเต็มที่

14. ผู้ปกครองระดับสูง ใช้ปัญญาของคนอื่นอย่างเต็มที่

15. อ่านคนออก บอกคนได้ ใช้คนเป็น

16. เมื่อนักการฑูตพูดว่า "ใช่" หรือ "อาจจะ" เขามีความหมายว่า "อาจจะ"

17. เมื่อนักการฑูตพูดว่า "อาจจะ" เขามีความหมายว่า "ไม่"

18. เมื่อนักการฑูตพูดว่า "ไม่" เขาไม่ใช่นักการฑูต เพราะนักการฑูตที่ดีจะไม่ปฏิเสธใคร

19. เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "ไม่" หล่อนมีความหมายว่า "อาจจะ"

20. เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "อาจจะ" หล่อนมีความหมายว่า "ใช่" หรือ "ได้"

21. เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "ใช่" หรือ "ได้" หล่อนไม่ใช่สุภาพสตรี

22. สุภาพสตรีจะไม่ตอบรับใครง่ายๆ

23. คิดทำการใหญ่ อย่าสนใจเรื่องเล็กน้อย

24. ตาสามารถมองเห็นสิ่งที่ไกลได้ แต่ไม่สามารถมองเห็นคิ้วของตน

25. คนส่วนใหญ่ใส่ใจกับผลได้ระยะสั้นเท่านั้น แต่คนฉลาดอย่างแท้จริงจะมองไปยังอนาคต

Making Holes at an Angle: The Easy Way(Solid Work))

Have you ever needed to make a hole that pierces material at a certain point, but at a compound angle? This can be a little challenging, but there is a method that I use which people seem to like. Instead of explaining it with a bunch of text, I made some "flash cards" that show the process. Enjoy!



















วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Robots that fly and cooperate


ก่อนอื่น เล่าให้ฟังก่อนว่า มันมี Web อยู่แห่งนึงชื่อว่า TED ...เดิมทีเขาเป็น Talk Show สั้นๆ ประมาณ 20 นาที ..เขาจะเอาคนที่น่าสนใจและประสบความสำเร็จในแต่ละสาขาอาชีพ ทั้งโลกเลยนะ ..มาคุยให้ฟัง ซึ่งค่าบัตรเข้าฟังกับคนพูดตัวเป็นๆนี่แพงมาก ...แต่หลังจากนั้นเขาก็จะอัดเอาวิดีโอนั้นมา Post ให้ดูฟรี ผ่านเว็บของ TED Talks -- ถ้าใครว่างลอง Search Google เข้าไปดู มันน่าสนใจ "20 นาที จากการพูดของคลิ๊ปหนึ่ง อาจเปลี่ยนชีวิตคุณก็ได้" ของเมืองไทยก็มีนะ มูลนิธิไทคม เขาจัดปีละครั้ง เอาคนแต่ละอาชีพที่น่าสนใจมาพูดให้ฟังคนละ 20 นาที น่าสนใจดีครับ ,,,







ผมเอาตัวอย่างคลิปนี้มา มันน่าสนใจมากกับเทคโนโลยีสมัยนี้ซึ่งไปไกลมากจริงๆ การทำงานของหุ่นยนต์ ซึ่งนับวันยิ่งฉลาดเข้าทุกวัน (น่ากลัวนะครับ) ต่อๆไปเราอาจเห็นหุ่นยนต์แบบในหนังดังๆแบบฮอลลีวูดเกิดขึ้นเป็นของจริงก็เป็นได้ ,,,, 

















วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

ถอดบทเรียนยักษ์ล้ม-เกิดอะไรขึ้นกับ"โซนี่"




"โซนี่"เคยเป็นแบรนด์ที่ชาวญี่ปุ่นภาคภูมิใจแต่วันนี้อาณาจักรที่เคยมั่นคงกำลังซวนเซและยังไม่แน่ว่าจะกลับมายืนแถวหน้าได้อีกหรือไม่

ปัญหาที่รุมเร้าของโซนี่ สะท้อนผ่านการเปลี่ยนตัวผู้บริหารระดับสูง โดย "คาซูโอะ ฮิราอิ" เพิ่งเข้ารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ของโซนี่อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา แทนที่ "โฮเวิร์ด สตริงเจอร์" อดีตซีอีโอต่างชาติที่พยายามจะกอบกู้อาณาจักรแห่งนี้ แต่ไม่เป็นผล

แม้ฮิราอิ จะให้คำมั่นว่า โซนี่จะต้องกลับมาทำกำไรได้อีกครั้ง พร้อมกับความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ แต่ถึงเวลานี้ ทั้งคนในและนอกองค์กรยังไม่อาจมั่นใจได้เต็มที่นัก เพราะโซนี่ ที่เคยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงด้านเทคโนโลยีของญี่ปุ่น ด้วยผลิตภัณฑ์สุดเจ๋งอย่างวอล์คแมน ทีวีไตรนิตรอน และถือครองกิจการโคลัมเบีย พิกเจอร์ส ตอนนี้กำลังดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด

"นิวยอร์ก ไทม์" ตั้งข้อสังเกตว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนี้สะท้อนภาวะขาลงของเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ซึ่งครั้งหนึ่งบรรดา "เจแปน อิงค์" ที่ไม่ได้มีเพียงแค่โซนี่ ดูเหมือนจะไม่มีวันตาย แต่ทุกวันนี้ทั้งโซนี่และผู้ผลิตสัญชาติญี่ปุ่นรายอื่นต่างเผชิญกับแรงกดดันสารพัด ไม่ว่าจะเป็นคู่แข่งในเอเชียที่เพิ่มขึ้น เงินเยนที่แข็งค่าขึ้นมาก และในกรณีของโซนี่ ปัญหาสำคัญ คือ การขาดไอเดียใหม่ๆ ซึ่งดูเหลือเชื่อ แต่เป็นเรื่องจริง

ความยากลำบากของโซนี่ เห็นได้จากการที่บริษัทประกาศว่า ในปีนี้บริษัทอาจขาดทุนหนักหนากว่าที่ประเมินไว้ โดยอาจขาดทุนมากถึง 6.4 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่โซนี่ไม่เคยทำกำไรได้เลยนับตั้งแต่ปี 2551 และเหตุผลก็อยู่ที่โซนี่ไม่มีผลิตภัณฑ์ยอดฮิตบุกตลาดเลยในรอบหลายปีมานี้

ราคาหุ้นของโซนี่ แตอยู่แถวๆ 1,444 เยน หรือราว 1 ใน 4 ของมูลค่าเมื่อทศวรรษก่อน และเมื่อสมัยวอล์คแมนอาละวาด ขณะที่มูลค่าตามราคาตลาดของโซนี่คิดเป็น 1 ใน 9 ของซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ และมีสัดส่วนแค่ 1 ใน 30 ของแอปเปิล

แม้แต่ในญี่ปุ่น ซึ่งผู้บริโภคจำนวนมากยังคงภักดีต่อแบรนด์ ผู้บริโภคหลายรายเริ่มปันใจจากโซนี่ จังหวะก้าวที่ผิดพลาดของโซนี่ สะท้อนถึงเรื่องราวของบริษัทที่ภูมิใจในตัวเองมาก จนไม่ต้องการหรือไม่สามารถปรับตัวรับความจริงที่เกิดขึ้น โดยความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ของโซนี่อยู่ที่ความล้มเหลวในการขี่ยอดคลื่นยักษ์ของนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี นั่นคือ กระแสดิจิทัล ซึ่งเปลี่ยนสู่ยุคซอฟต์แวร์และอินเทอร์เน็ต

ทุกๆแนวรบของโซนี่ ไล่ตั้งแต่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การสื่อสาร จนถึงเนื้อหา ยิ่งน่าปวดหัวมากขึ้นจากคู่แข่งรายใหม่ๆ และความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สร้างความขัดแย้งและแตกแยกภายในองค์กร

ที่จริงแล้ว โซนี่ มีเครื่องมือที่พร้อมสำหรับสร้างสรรค์เครื่องเล่นเพลงแบบไอพอดได้ก่อนแอปเปิล เพราะผู้ก่อตั้งร่วม "อากิโอะ โมริตะ" มองเห็นการผนวกรวมเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับเนื้อหาบนสื่อ เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ผู้ใช้ ตั้งแต่ต้นยุค 1980 แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่เห็นผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เพราะฝ่ายวิศวกรคานอำนาจกับแผนกมีเดีย แต่ก็ได้คิดค้นระบบเครื่องเล่นเพลิงดิจิทัลของตัวเอง ที่ไม่เกี่ยวกับรูปแบบไฟล์เอ็มพี3 ซึ่งอาจกระทบต่อยอดดาวน์โหลดเพลงหรือทำร้ายศิลปิน

แต่กว่าโซนี่จะผลักดันให้แผนกต่างๆ ร่วมมือกันได้ บริษัทก็สูญเสียที่ยืนในธุรกิจทีวีและเครื่องเล่นเพลงพกพา ซึ่งจอแบนและไอพอดมาแรงมาก

ขณะเดียวกัน ผู้ผลิตจากเกาหลีใต้ จีน และที่อื่นๆ ที่มีต้นทุนต่ำกว่าก็ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด และตัดราคาแข่งกับโซนี่และบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ไฮเอนด์รายอื่นๆ ดังนั้น เมื่อแบรนด์โซนี่ไม่เปล่งประกาย ก็เป็นเรื่องยากที่จะตั้งราคาสินค้าแบบพรีเมี่ยม

"ซี-จิน ชาง" ผู้เขียนหนังสือเรื่อง "โซนี่ ปะทะ ซัมซุง: เรื่องราวการต่อสู้ของยักษ์อิเล็กทรอนิกส์สู่ความยิ่งใหญ่ระดับโลก" ระบุว่า จุดนี้ โซนี่ต้องการกลยุทธ์ เป็นกลยุทธ์อะไรก็ได้ เพราะถึงอย่างไรก็ดีกว่าไม่มีเลย

หนึ่งในพื้นที่ที่โซนี่ยังประสบความสำเร็จในตอนนั้น คือ วิดีโอเกม ที่เปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและโลกที่อินเทอร์เน็ตเป็นศูนย์กลาง "เพลย์สเตชั่น 3" เป็นระบบความบันเทิงในบ้านที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและทีวีได้ แต่ความล่าช้าในการพัฒนาเทคโนโลยีบลูเรย์ กลับทำให้คู่แข่งอย่างนินเทนโดและไมโครซอฟท์แซงหน้าไปไกล

กรณีของโซนี่ สะท้อนปัญหาที่หยั่งลึกของบริษัทที่เคยร่ำรวยนวัตกรรม ทว่าตอนนี้กลับขาดแคลนไอเดีย เมื่อบวกกับเงินเยนที่แข็งค่าจนกระทบการส่งออก และไม่สามารถแข่งขันเรื่องต้นทุนราคาถูก

สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ญี่ปุ่นสูญเสียความเป็นผู้นำในหลายๆ ด้าน ทั้งที่เมื่อ 10 ปีก่อน บริษัทเหล่านี้เป็นผู้กำหนดเทรนด์ผลิตภัณฑ์อย่างทีวี กล้องดิจิทัล เครื่องเล่นเพลงพกพา และคอนโซลเกม ผิดกับตอนนี้ที่บทบาทลดลงมาก เมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่างแอปเปิลและซัมซุง



วัฒนธรรมองค์กร ที่มีแต่วิศวกรและผู้บริหารมั่นใจในตัวเองมากๆ ทำให้ไม่เกิดความร่วมมือระหว่างกัน และมีแนวคิดว่าการลดต้นทุนเป็นศัตรูของความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งแม้ในอดีตความเป็นอิสระตรงนี้มีความสำคัญ แต่สถานการณ์ตอนนี้แตกต่างไปมาก


นอกจากนี้ สินค้าของโซนี่ ยังมีมากเกินไป และบางทีก็แข่งกันเอง อาทิ ทีวีกว่า 30 รุ่น ซึ่งสร้างความสับสนให้ผู้บริโภค เทียบกับค่าย "แอปเปิล" ที่ผลิตมือถือแค่ 2 สี ซึ่งดีที่สุด รวมถึงกลยุทธ์ออนไลน์ที่บูรณาการแพลตฟอร์มเพลง หนัง และเกม ก็ใช้เวลานานกว่าจะปรับให้ใช้ร่วมกันได้


ความเป็นไปได้ที่โซนี่ จะเดินหน้าต่อคือ การลดไลน์ผลิตภัณฑ์ลง อาทิ ธุรกิจเคมีคัล แต่ยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับชะตากรรมของธุรกิจทีวี ซึ่งแม้ซีอีโอป้ายแดงจะประกาศโฟกัส 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจอุปกรณ์พกพา อาทิ สมาร์ทโฟน แทบเล็ต ธุรกิจกล้องถ่ายภาพและกล้องวิดีโอ และธุรกิจเกม แต่เขาก็จะไม่ทิ้งทีวี ทั้งที่ขาดทุนมหาศาล





โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

ข้อคิดที่ได้จากครูอังคณา





สังเกตว่า Social Media ทำให้เวลาที่เราเสียไปในแต่ละวัน ล้วนแต่เสียให้ไปกับเรื่องของคนอื่น มากกว่าเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเราเอง

เรื่องดราม่า คนด่าอันอันนู้น บ่นอันนี้ นินทาคนนั้นคนนี้ บางทีต้องถามตัวเองว่า จำเป็นต้องรู้เรื่องพวกนี้รึเปล่า มีสิ่งที่สำคัญกว่านี้ที่เราต้องรู้ แต่ดันไม่รู้รึเปล่า

"รู้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องที่ควรรู้"  




----------> "เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่ " หากใครเล่นเฟซบุ๊กในช่วงค่ำวานนี้ (9 เม.ย.) คงทราบดีว่าเกิดอะไรขึ้น และสงสัยว่าประโยค "เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่" ประโยคเด็ดที่แพร่ลามยิ่งกว่าไฟไหม้ทุ่งในชั่วข้ามคืน ทั้งในสื่อออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และลามไปยังเว็บบอร์ดและเว็บไซต์ต่างๆ มีที่มาอย่างไร