วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

#25 by Zhuge Liang




"ขงเบ้ง" หรือ "จูกัดเหลียง" (Zhuge Liang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ซึ่งได้รับการขนานนามจากใครต่อใครว่าเป็น"ผู้หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร" เรามักเห็นภาพวาดของขงเบ้งในชุดนักพรต ถือพัดขนนก ใบหน้าขาว แต่งกายดูภูมิฐาน บุคลิกลักษณะของขงเบ้งที่ใครต่อใครต่างกล่าวถึง คือความเฉลียวฉลาดทางการรบและไหวพริบปฏิภาณที่เป็นเลิศ รวมถึงวาจาอันคมคายบาดจิต ซึ่งเรียกได้ว่าคลาสสิคมาถึงยุคปัจจุบัน เพราะใช้เป็นแง่คิดชีวิตได้อย่างดี 

เราลองมาดูข้อคิดทั้ง 25 ข้อที่มาจากขงเบ้ง เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างฉลาดกันดีกว่า


1. ถ้าคุณคิดจะเป็นใหญ่ คุณก็จะได้เป็นใหญ่ ถ้าคุณคิดอยากเป็นอะไรคุณก็จะได้เป็นสิ่งนั้

2. เพราะแสวงหา มิใช่เพราะรอคอย เพราะเชี่ยวชาญ มิใช่เพราะโอกาส เพราะสามารถ มิใช่เพราะโชคช่วย ดังนี้แล้ว "ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน"

3. นกทำรังให้ดูไม้ ข้าเลือกนายให้ดูน้ำใจ

4. ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด

5. ผู้ที่เล็กที่สุด ก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด

6. ผู้ที่มีเกียรติ คือ ผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น

7. ถ้าสติไม่มา ปัญญาก็ไม่มี

8. ไม้คดใช้ทำขอ เหล็กงอใช้ทำเคียว แต่คนคดเคี้ยวใช้ทำอะไรไม่ได้เลย

9. เล่นหมากรุก อย่าเอาแต่บุกอย่างเดียว เดินหมากรุกยังต้องคิด เดินหมากชีวิต จะไม่คิดได้อย่างไร

10. เมื่อใครสักคนหนึ่งทำผิด ท่านอย่าเพิ่งตำหนิหรือต่อว่าเขา เพราะถ้าท่านเป็นเขา และตกอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นเดียวกับเขา ท่านอาจจะตัดสินใจทำเช่นเดียวกับเขาก็ได้

11. การบริหารคือการทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยมือผู้อื่น

12. ผู้ปกครองระดับธรรมดา ใช้ความสามารถของตนอย่างเต็มที่

13. ผู้ปกครองระดับกลาง ใช้กำลังของคนอื่นอย่างเต็มที่

14. ผู้ปกครองระดับสูง ใช้ปัญญาของคนอื่นอย่างเต็มที่

15. อ่านคนออก บอกคนได้ ใช้คนเป็น

16. เมื่อนักการฑูตพูดว่า "ใช่" หรือ "อาจจะ" เขามีความหมายว่า "อาจจะ"

17. เมื่อนักการฑูตพูดว่า "อาจจะ" เขามีความหมายว่า "ไม่"

18. เมื่อนักการฑูตพูดว่า "ไม่" เขาไม่ใช่นักการฑูต เพราะนักการฑูตที่ดีจะไม่ปฏิเสธใคร

19. เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "ไม่" หล่อนมีความหมายว่า "อาจจะ"

20. เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "อาจจะ" หล่อนมีความหมายว่า "ใช่" หรือ "ได้"

21. เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "ใช่" หรือ "ได้" หล่อนไม่ใช่สุภาพสตรี

22. สุภาพสตรีจะไม่ตอบรับใครง่ายๆ

23. คิดทำการใหญ่ อย่าสนใจเรื่องเล็กน้อย

24. ตาสามารถมองเห็นสิ่งที่ไกลได้ แต่ไม่สามารถมองเห็นคิ้วของตน

25. คนส่วนใหญ่ใส่ใจกับผลได้ระยะสั้นเท่านั้น แต่คนฉลาดอย่างแท้จริงจะมองไปยังอนาคต

Making Holes at an Angle: The Easy Way(Solid Work))

Have you ever needed to make a hole that pierces material at a certain point, but at a compound angle? This can be a little challenging, but there is a method that I use which people seem to like. Instead of explaining it with a bunch of text, I made some "flash cards" that show the process. Enjoy!



















วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Robots that fly and cooperate


ก่อนอื่น เล่าให้ฟังก่อนว่า มันมี Web อยู่แห่งนึงชื่อว่า TED ...เดิมทีเขาเป็น Talk Show สั้นๆ ประมาณ 20 นาที ..เขาจะเอาคนที่น่าสนใจและประสบความสำเร็จในแต่ละสาขาอาชีพ ทั้งโลกเลยนะ ..มาคุยให้ฟัง ซึ่งค่าบัตรเข้าฟังกับคนพูดตัวเป็นๆนี่แพงมาก ...แต่หลังจากนั้นเขาก็จะอัดเอาวิดีโอนั้นมา Post ให้ดูฟรี ผ่านเว็บของ TED Talks -- ถ้าใครว่างลอง Search Google เข้าไปดู มันน่าสนใจ "20 นาที จากการพูดของคลิ๊ปหนึ่ง อาจเปลี่ยนชีวิตคุณก็ได้" ของเมืองไทยก็มีนะ มูลนิธิไทคม เขาจัดปีละครั้ง เอาคนแต่ละอาชีพที่น่าสนใจมาพูดให้ฟังคนละ 20 นาที น่าสนใจดีครับ ,,,







ผมเอาตัวอย่างคลิปนี้มา มันน่าสนใจมากกับเทคโนโลยีสมัยนี้ซึ่งไปไกลมากจริงๆ การทำงานของหุ่นยนต์ ซึ่งนับวันยิ่งฉลาดเข้าทุกวัน (น่ากลัวนะครับ) ต่อๆไปเราอาจเห็นหุ่นยนต์แบบในหนังดังๆแบบฮอลลีวูดเกิดขึ้นเป็นของจริงก็เป็นได้ ,,,, 

















วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

ถอดบทเรียนยักษ์ล้ม-เกิดอะไรขึ้นกับ"โซนี่"




"โซนี่"เคยเป็นแบรนด์ที่ชาวญี่ปุ่นภาคภูมิใจแต่วันนี้อาณาจักรที่เคยมั่นคงกำลังซวนเซและยังไม่แน่ว่าจะกลับมายืนแถวหน้าได้อีกหรือไม่

ปัญหาที่รุมเร้าของโซนี่ สะท้อนผ่านการเปลี่ยนตัวผู้บริหารระดับสูง โดย "คาซูโอะ ฮิราอิ" เพิ่งเข้ารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ของโซนี่อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา แทนที่ "โฮเวิร์ด สตริงเจอร์" อดีตซีอีโอต่างชาติที่พยายามจะกอบกู้อาณาจักรแห่งนี้ แต่ไม่เป็นผล

แม้ฮิราอิ จะให้คำมั่นว่า โซนี่จะต้องกลับมาทำกำไรได้อีกครั้ง พร้อมกับความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ แต่ถึงเวลานี้ ทั้งคนในและนอกองค์กรยังไม่อาจมั่นใจได้เต็มที่นัก เพราะโซนี่ ที่เคยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงด้านเทคโนโลยีของญี่ปุ่น ด้วยผลิตภัณฑ์สุดเจ๋งอย่างวอล์คแมน ทีวีไตรนิตรอน และถือครองกิจการโคลัมเบีย พิกเจอร์ส ตอนนี้กำลังดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด

"นิวยอร์ก ไทม์" ตั้งข้อสังเกตว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนี้สะท้อนภาวะขาลงของเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ซึ่งครั้งหนึ่งบรรดา "เจแปน อิงค์" ที่ไม่ได้มีเพียงแค่โซนี่ ดูเหมือนจะไม่มีวันตาย แต่ทุกวันนี้ทั้งโซนี่และผู้ผลิตสัญชาติญี่ปุ่นรายอื่นต่างเผชิญกับแรงกดดันสารพัด ไม่ว่าจะเป็นคู่แข่งในเอเชียที่เพิ่มขึ้น เงินเยนที่แข็งค่าขึ้นมาก และในกรณีของโซนี่ ปัญหาสำคัญ คือ การขาดไอเดียใหม่ๆ ซึ่งดูเหลือเชื่อ แต่เป็นเรื่องจริง

ความยากลำบากของโซนี่ เห็นได้จากการที่บริษัทประกาศว่า ในปีนี้บริษัทอาจขาดทุนหนักหนากว่าที่ประเมินไว้ โดยอาจขาดทุนมากถึง 6.4 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่โซนี่ไม่เคยทำกำไรได้เลยนับตั้งแต่ปี 2551 และเหตุผลก็อยู่ที่โซนี่ไม่มีผลิตภัณฑ์ยอดฮิตบุกตลาดเลยในรอบหลายปีมานี้

ราคาหุ้นของโซนี่ แตอยู่แถวๆ 1,444 เยน หรือราว 1 ใน 4 ของมูลค่าเมื่อทศวรรษก่อน และเมื่อสมัยวอล์คแมนอาละวาด ขณะที่มูลค่าตามราคาตลาดของโซนี่คิดเป็น 1 ใน 9 ของซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ และมีสัดส่วนแค่ 1 ใน 30 ของแอปเปิล

แม้แต่ในญี่ปุ่น ซึ่งผู้บริโภคจำนวนมากยังคงภักดีต่อแบรนด์ ผู้บริโภคหลายรายเริ่มปันใจจากโซนี่ จังหวะก้าวที่ผิดพลาดของโซนี่ สะท้อนถึงเรื่องราวของบริษัทที่ภูมิใจในตัวเองมาก จนไม่ต้องการหรือไม่สามารถปรับตัวรับความจริงที่เกิดขึ้น โดยความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ของโซนี่อยู่ที่ความล้มเหลวในการขี่ยอดคลื่นยักษ์ของนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี นั่นคือ กระแสดิจิทัล ซึ่งเปลี่ยนสู่ยุคซอฟต์แวร์และอินเทอร์เน็ต

ทุกๆแนวรบของโซนี่ ไล่ตั้งแต่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การสื่อสาร จนถึงเนื้อหา ยิ่งน่าปวดหัวมากขึ้นจากคู่แข่งรายใหม่ๆ และความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สร้างความขัดแย้งและแตกแยกภายในองค์กร

ที่จริงแล้ว โซนี่ มีเครื่องมือที่พร้อมสำหรับสร้างสรรค์เครื่องเล่นเพลงแบบไอพอดได้ก่อนแอปเปิล เพราะผู้ก่อตั้งร่วม "อากิโอะ โมริตะ" มองเห็นการผนวกรวมเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับเนื้อหาบนสื่อ เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ผู้ใช้ ตั้งแต่ต้นยุค 1980 แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่เห็นผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เพราะฝ่ายวิศวกรคานอำนาจกับแผนกมีเดีย แต่ก็ได้คิดค้นระบบเครื่องเล่นเพลิงดิจิทัลของตัวเอง ที่ไม่เกี่ยวกับรูปแบบไฟล์เอ็มพี3 ซึ่งอาจกระทบต่อยอดดาวน์โหลดเพลงหรือทำร้ายศิลปิน

แต่กว่าโซนี่จะผลักดันให้แผนกต่างๆ ร่วมมือกันได้ บริษัทก็สูญเสียที่ยืนในธุรกิจทีวีและเครื่องเล่นเพลงพกพา ซึ่งจอแบนและไอพอดมาแรงมาก

ขณะเดียวกัน ผู้ผลิตจากเกาหลีใต้ จีน และที่อื่นๆ ที่มีต้นทุนต่ำกว่าก็ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด และตัดราคาแข่งกับโซนี่และบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ไฮเอนด์รายอื่นๆ ดังนั้น เมื่อแบรนด์โซนี่ไม่เปล่งประกาย ก็เป็นเรื่องยากที่จะตั้งราคาสินค้าแบบพรีเมี่ยม

"ซี-จิน ชาง" ผู้เขียนหนังสือเรื่อง "โซนี่ ปะทะ ซัมซุง: เรื่องราวการต่อสู้ของยักษ์อิเล็กทรอนิกส์สู่ความยิ่งใหญ่ระดับโลก" ระบุว่า จุดนี้ โซนี่ต้องการกลยุทธ์ เป็นกลยุทธ์อะไรก็ได้ เพราะถึงอย่างไรก็ดีกว่าไม่มีเลย

หนึ่งในพื้นที่ที่โซนี่ยังประสบความสำเร็จในตอนนั้น คือ วิดีโอเกม ที่เปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและโลกที่อินเทอร์เน็ตเป็นศูนย์กลาง "เพลย์สเตชั่น 3" เป็นระบบความบันเทิงในบ้านที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและทีวีได้ แต่ความล่าช้าในการพัฒนาเทคโนโลยีบลูเรย์ กลับทำให้คู่แข่งอย่างนินเทนโดและไมโครซอฟท์แซงหน้าไปไกล

กรณีของโซนี่ สะท้อนปัญหาที่หยั่งลึกของบริษัทที่เคยร่ำรวยนวัตกรรม ทว่าตอนนี้กลับขาดแคลนไอเดีย เมื่อบวกกับเงินเยนที่แข็งค่าจนกระทบการส่งออก และไม่สามารถแข่งขันเรื่องต้นทุนราคาถูก

สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ญี่ปุ่นสูญเสียความเป็นผู้นำในหลายๆ ด้าน ทั้งที่เมื่อ 10 ปีก่อน บริษัทเหล่านี้เป็นผู้กำหนดเทรนด์ผลิตภัณฑ์อย่างทีวี กล้องดิจิทัล เครื่องเล่นเพลงพกพา และคอนโซลเกม ผิดกับตอนนี้ที่บทบาทลดลงมาก เมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่างแอปเปิลและซัมซุง



วัฒนธรรมองค์กร ที่มีแต่วิศวกรและผู้บริหารมั่นใจในตัวเองมากๆ ทำให้ไม่เกิดความร่วมมือระหว่างกัน และมีแนวคิดว่าการลดต้นทุนเป็นศัตรูของความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งแม้ในอดีตความเป็นอิสระตรงนี้มีความสำคัญ แต่สถานการณ์ตอนนี้แตกต่างไปมาก


นอกจากนี้ สินค้าของโซนี่ ยังมีมากเกินไป และบางทีก็แข่งกันเอง อาทิ ทีวีกว่า 30 รุ่น ซึ่งสร้างความสับสนให้ผู้บริโภค เทียบกับค่าย "แอปเปิล" ที่ผลิตมือถือแค่ 2 สี ซึ่งดีที่สุด รวมถึงกลยุทธ์ออนไลน์ที่บูรณาการแพลตฟอร์มเพลง หนัง และเกม ก็ใช้เวลานานกว่าจะปรับให้ใช้ร่วมกันได้


ความเป็นไปได้ที่โซนี่ จะเดินหน้าต่อคือ การลดไลน์ผลิตภัณฑ์ลง อาทิ ธุรกิจเคมีคัล แต่ยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับชะตากรรมของธุรกิจทีวี ซึ่งแม้ซีอีโอป้ายแดงจะประกาศโฟกัส 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจอุปกรณ์พกพา อาทิ สมาร์ทโฟน แทบเล็ต ธุรกิจกล้องถ่ายภาพและกล้องวิดีโอ และธุรกิจเกม แต่เขาก็จะไม่ทิ้งทีวี ทั้งที่ขาดทุนมหาศาล





โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

ข้อคิดที่ได้จากครูอังคณา





สังเกตว่า Social Media ทำให้เวลาที่เราเสียไปในแต่ละวัน ล้วนแต่เสียให้ไปกับเรื่องของคนอื่น มากกว่าเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเราเอง

เรื่องดราม่า คนด่าอันอันนู้น บ่นอันนี้ นินทาคนนั้นคนนี้ บางทีต้องถามตัวเองว่า จำเป็นต้องรู้เรื่องพวกนี้รึเปล่า มีสิ่งที่สำคัญกว่านี้ที่เราต้องรู้ แต่ดันไม่รู้รึเปล่า

"รู้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องที่ควรรู้"  




----------> "เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่ " หากใครเล่นเฟซบุ๊กในช่วงค่ำวานนี้ (9 เม.ย.) คงทราบดีว่าเกิดอะไรขึ้น และสงสัยว่าประโยค "เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่" ประโยคเด็ดที่แพร่ลามยิ่งกว่าไฟไหม้ทุ่งในชั่วข้ามคืน ทั้งในสื่อออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และลามไปยังเว็บบอร์ดและเว็บไซต์ต่างๆ มีที่มาอย่างไร



วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

ให้เงินทำงานแทนเราทำ OT


Money Machine


ถ้าพูดถึงเงิน 20,000 บาท สำหรับใครบางคนก็คงไม่มากนัก แต่กับใครบางคนก็ไม่ง่ายเลยที่จะหามาได้... เรากำลังพูดถึง รายได้จำนวน 20,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นปี ก็ปีละ 240,000 บาท ...ด้วยเงินจำนวนเท่านี้ จริงๆ แล้วถ้าไม่ได้ใช้อะไรมากมาย ก็คงจะเพียงพอ กับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ของบางคน หรือบางครอบครัว อย่างสบายๆ 

             ผมจึงมีความคิดอย่างหนึ่งว่า ถ้าเราสามารถได้เงินจำนวนนี้ มาจากเงินปันผลในหุ้น (แน่นอนล่ะ มันต้องหัก ภาษี 10% ด้วย..เอาน่าอย่างเพิ่งไปคิดให้ปวดหัว) 

              หลักการ ก็คือว่า ถ้าเราวางเงินเก็บเย็นๆ ของเราไว้ในหุ้นของบริษัทฯ ที่มั่นคง ให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง สามารถจ่ายปันผลให้เราได้อย่างต่อเนื่อง ได้ 20,000 บาท ทุกๆ เดือน หรือ ก็คือ 240,000 บาทต่อปี โดยที่เราไม่ต้องไปคอยดูราคา ซื้อๆ ขายๆ มันทุกวัน ... (... จริงดิ.. ได้อย่างนั้น ก็ เจ๋งสิ.... แล้ว มันจะเป็นไปได้ไหม... ) 

              สมมุติว่า เรามองหา ปันผล 6% ต่อปี เป็น เงิน 240,000 บาท ก็หมายความว่า เราต้องใช้ เงินต้น 4 ล้าน ในการลงทุนซื้อหุ้น และถือไว้นิ่งๆ ...แต่บริษัทฯ ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่มีบริษัทฯ ไหนจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้น ทุกเดือนแน่นอน จะมี ก็จ่ายปันผล ปีละ 1 ครั้ง หรือ ปีละ 2 ครั้ง หรือ ถ้าผลประกอบการดีจัด ก็อาจจะแถมให้อีกครั้ง เป็น 3 ครั้ง .. เราจึงต้องกระจายซื้อหุ้นบริษัทฯ หลายแห่ง เพื่อที่จะได้ ปันผลทุกเดือน หรือ ทุกๆ สองเดือน และยังเป็นการกระจายความเสี่ยงจาก Cycle ของกิจการต่างๆ ด้วย .. 

              บริษัทฯ ที่สามารถให้ผลตอบแทนได้สูง มากกว่า 8% ต่อปี อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมา ในตลาดหุ้นตอนนี้มันช่างน้อยเหลือเกิน แต่ถ้าขยายวงออกไปให้เป็น มากกว่า 6% ย้อนหลังแค่ 3 ปีที่ผ่านมา ก็พอจะมีให้เลือกมากหน่อย 

             แน่นอนว่า ในการเลือกลงทุน เราก็คงจะต้องเลือก บริษัทฯ ที่มีความมั่งคง มีผลประกอบการที่ดีด้วย และมีราคาหุ้น ที่ไม่สูงเกินกว่า มูลค่าที่แท้จริง มากจนเกินไป.. เพื่อที่จะได้เด้งที่สอง จากการเติบโตของมูลค่าหุ้นในอนาคต.. (อ่ะนะ ... หลักการดี ใครก็คิดได้ ทำยังไง ล่ะ...) 

             ก็ต้องทำการคัดตัวหุ้น เข้ารอบกันล่ะ โดยใช้ ค่า P/E , P/Bv, ROE, D/E ratio เหล่านี้ ต้องถูกนำมาพิจารณาประกอบการเลือก...ในแง่ของปัจจัยพื้นฐานของกิจการในช่วงที่ผ่านมา 

             และอีกสิ่งที่จะต้องพิจารณาด้วยก็คือ ผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจรอบโลกกลมๆ ใบนี้ ซึ่งมีเกิดขึ้นให้เห็นเพิ่มขึ้นทุกวันๆ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติการเงินในสหรัฐ วิกฤติหนี้ของกลุ่มประเทศยุโรป และยังต้องคอยติดตาม นโยบายของรัฐที่จะออกมาในอนาคตด้วย ... 

              Criteria หรือ เงื่อนไขในการคัดกรองหุ้นของบริษัทฯ ที่มีพื้นฐานดี นั้นก็มีตำรา บทวิเคราะห์ มากมายให้ค้นหากัน .. ใครจะใช้เงื่อนไขยังไงแบบไหน ก็ตามความเสี่ยงที่จะรับได้ หรือจะตามความชอบส่วนตัวก็แล้วแต่นะครับ เพราะนักลงทุนบางคน เขาไม่ลงทุนในกลุ่มบริษัทฯ ที่เขาไม่ถนัด ถึงแม้มันจะดีกว่าแค่ไหนก็ตาม เมื่อเราเลือกหุ้นเข้ามาใน Focus Group ของเราได้แล้ว 

             จากนั้นให้คะแนนด้านพื้นฐาน กับหุ้นของบริษัทฯ เหล่านั้น จาก 1-10 คะแนน โดยที่หุ้นที่ปัจจัย พื้นฐานน่าสนใจที่สุดตาม เงื่อนไขของเราที่ตั้งไว้ เช่น เราใช้ P/E , P/Bv, D/E และข้อมูลในการดำเนินกิจการในอนาคต เป็นตัวชี้วัดคะแนน 4 อย่าง ก็อย่างละ 10 คะแนน แล้วก็ทำ Criteria Score Card ขึ้นมาให้กับ ตัวชี้วัดทั้ง 4 ได้คะแนนเฉลี่ยออกมาเท่าไหร่ ก็ บันทึก ไว้ . 

               เราทำการให้คะแนนด้านพื้นฐานไปแล้ว ต่อไปก็ต้องมาให้คะแนน ด้านเทคนิค กันบ้างล่ะ แนะนำให้ใช้ Weekly Chart มาดูปัจจัยด้านเทคนิค เพื่อดูว่าหน้าตากราฟในภาพใหญ่ๆ มีรูปแบบกราฟของหุ้นเป็นยังไง บ้าง ดูน่าสนใจมากมาน้อยแค่ไหน...แล้วเราก็จะให้คะแนน ด้านเทคนิค จาก 1-10 คะแนน เช่นกัน
             ด้วยภาพทางเทคนิคในภาพใหญ่ หุ้นที่มีหน้าตาที่พร้อมวิ่งขึ้นได้อย่างแข็งแรงในตอนนี้ หรือในอนาคต ให้ 9-10 คะแนน
             หุ้นที่พักตัว หรือ sideway แต่มีแนวโน้มจะขึ้นได้ เพียงรอ Signal ก็ให้คะแนน 6-8
             ส่วนหุ้นที่หลับ หรือออกข้างแคบๆ ก็อาจจะให้คะแนน 4-5 คะแนน
             และหุ้นที่ออกอาการไหลลง ก็คงจะให้คะแนนน้อยกว่า 4 ไปตามลำดับความเลวร้าย 

           จากนั้น เราก็นำคะแนนพื้นฐาน และ คะแนนเทคนิค ก็มา Plot Metrix
ให้ Fundamental Score เป็นแกน X และ  Technical Score เป็น แกน Y 
ก็จะได้ หุ้น พื้นฐานดี 4 กลุ่ม ดังภาพ



ส่วนนักลงทุนแต่ละคนชอบหุ้นแบบไหน จะกระจายความเสี่ยงยังไง ก็จัดการไปตามความชอบและความต้องการของแต่ละคน เพราะอย่างไร หุ้นที่เราคัดมานั้นก็ล้วน เป็นหุ้นที่ ให้ปันผล มากกว่า 6% ต่อปีตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ทั้งสิ้น ก็ ลองดูเป็น ไอเดีย ในการใช้ทุนที่มี วางลงไปให้ถูกที่ถูกทาง ...










ขอบคุณ พี่ปุย(Wave Rider) แห่งสำนัก S2M ,,,

Mind map of engineer student




What on your mind? LOL

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีผู้นำ ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย





 " ทุกวันนี้ผมแทบจะจำเนื้อหาที่เรียนมาไม่ได้เลย เช่นผมเรียนวิศวะเครื่องกล แต่ถ้าให้ดูเรื่องเครื่องยนต์กลไก หรือกระทั่งให้เปลี่ยนยางรถยนต์ก็แทบจะทำไม่ได้ " เป็นการสื่อความว่าการศึกษาไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่สุด

 แม้แต่ เอ็มบีเอ หลักสูตรท้อบฮิตที่ผู้บริหารขององค์กรไซส์ใหญ่หรือเล็ก ทั้งภาครัฐหรือเอกชนต่างไม่พลาด รวมถึงดร.วิชิตเอง แต่เขาก็ยังให้คุณค่ามันน้อยมาก   อย่างไรก็ดีคุณค่าสูงสุดที่เขาได้รับจากเอ็มบีเอก็คือ เครือข่าย หรือ Networking ทำนองเดียวกับคำกล่าวที่ว่า ชีวิตคนเราจะประสบความสำเร็จได้ อยู่ที่ว่าเรากินข้าวกินกับใคร เรียนกับใคร ใช้ชีวิตกับใคร

 "เพื่อนๆ ในห้องเรียนเอ็มบีเอล้วนมีพื้นฐานด้านธุรกิจทุกคน เพื่อนคนนี้เก่งด้านการตลาด คนนั้นด้านการขาย อีกคนด้านการเงิน พอพวกเราได้พูดคุยกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ตรงนี้กลับได้ความรู้เยอะมาก "

  เขาฟันธงว่าการก้าวเป็นผู้นำโดยเฉพาะตำแหน่งซีอีโอบริษัทยักษ์ใหญ่ต้องมีเครือข่าย  ถ้าเป็นคนที่มีมุมมอง หรือประสบการณ์แคบๆ หรือเก่งแค่ด้านใดด้านเดียว คงเป็นได้แค่ Specialist  เท่านั้น

  เพราะซีอีโอต้องเป็นผู้รอบรู้ ขณะเดียวกันจำเป็นต้องรู้ด้วยว่าตัวเองไม่รู้เรื่องอะไร  แม้จะไม่รู้แต่ต้องไม่บอด

อ่านบทความเต็มได้ที่เว็ปข้างล่างเลยครับ

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ http://goo.gl/UbdmU

วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

ก๊าซเหลว LNG





                ปตท เป็นผู้นำเข้าก๊าซเหลวหรือ LNG เข้ามาใช้งานในบ้านเรา หลายคนอาจจะตั้งคำถามว่า LNG เป็นก๊าซตัวใหม่หรือและเมื่อนำเข้ามาแล้วถ้าจะนำไปใช้กับรถยนต์จะได้หรือไม่หรือจะมีปัญหาอะไรบ้างไหมก็ต้องย้อนกล่าวไปถึงเรื่องก๊าซธรรมชาติที่ได้จากการขุดเจาะทั้งใต้ทะเลและบนบก ถ้าเอาแกลลอนสักหนึ่งลิตรตักเอาก๊าซธรรมชาติที่ได้ขึ้นมาตรวจดู จะเห็นว่าก๊าซหนึ่งลิตรนั้นจะเป็นก๊าซมีเทน (Methane CH4) ไปประมาณร้อยละ87 ส่วนที่เหลือที่ผสมอยู่จนเต็มลิตรนั้นก็จะมีก๊าซอีกหลายตัว ที่โรงแยกก๊าซสามารถจะแยกเอาไปใช้งาน ทั้งในเชิงพาณิชย์และการอุตสาหกรรมได้มากมาย เช่น Propane, Butane, CO2, Ethane etc ก๊าซธรรมชาติที่แยกออกมานี้ถ้าส่งออกไปขายโดยส่งไปตามท่อจะเรียกว่า Sales gas หรือ PNG Pipe Natural Gas หรือถ้าจับเอาโพรเพนกับบิวเทนมาผสมกันในอัตราส่วนที่พอเหมาะเช่น 60:40 หรือ70:30 แล้วบรรจุลงในถัง ก็จะกลายเป็นก๊าซหุงต้มหรือก๊าซ LPG (Liquefied Natural Gas)ที่เรารู้จักกันดี ก๊าซมีเทนที่เหลือ เมื่อนำมาอัดด้วยแรงดันสูงบรรจุเข้าไว้ในถังที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษที่ทนแรงดันได้มากกว่า200บาร์(200เท่าของแรงดันบรรยากาศรอบตัวเรา)ก็จะถูกเรียกว่าก๊าซ CNG (Compressed Natural Gas) ที่เอามาเป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ทุกชนิดในบ้านเราที่ถูกเรียกกันว่า NGV (Natural Gas for Vehicle) ก๊าซมีเทนที่ถูกนำมาอัดเข้าถังแม้จะสะดวกในการใช้งานและการขนส่ง แต่ก็ยังถือว่าไม่สะดวกมากนักกับการขนส่งเพราะได้ปริมาณครั้งละไม่มากเมื่อเทียบกับปริมาณที่ต้องการในการนำไปใช้ทำเชื้อเพลิงการนำมีเทนหรือก๊าซธรรมชาติมาทำให้เป็นของเหลวโดยการใช้ความเย็นที่ ลบ162องศาเซลเชียส หรือที่ลบ260องศาฟาเรนท์ไฮต์ นั้นจะทำให้ได้ปริมาตรที่มากขึ้นถึง600เท่า(มีเทนก๊าซ 600ลิตรเมื่อทำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิดังกล่าวจะเหลือเพียง1ลิตร) ก็จะได้เป็นก๊าซเหลวที่เรียกว่า LNG Liquefied Natural Gas ทำให้สะดวกในการขนส่งไปยังแหล่งที่ต้องการใช้งาน ถ้ามองกันแค่นี้ก็ไม่น่ายากที่จะทำให้เกิดขึ้น และปตท.ควรจะทำมาตั้งนานแล้ว แต่ในความเป็นจริงนั้นกระบวนการที่จะทำให้ก๊าซธรรมชาติเป็นก๊าซเหลวนั้นไม่ยาก ความยากอยู่ตรงที่ว่า กาซธรรมชาติที่มีมีเทนอยู่ร้อยละ87 นั้น ถ้าจะนำมาทำเป็น LNG ที่มีคุณสมบัติตามที่ผู้ใช้ต้องการนั้นจะต้องแยกเอาเพียงแต่ก๊าซมีเทนให้ได้ความบริสุทธิ์มากกว่าร้อยละ95  ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผู้ที่จะนำLNG มาใช้เป็นเชื้อเพลิงนั้นจะใช้ก๊าซที่ได้(มี)ค่าความร้อนที่ไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับประเภทของงานหรืออุตสาหกรรมที่ใช้ แต่มีเทนที่บริสุทธิ์นี้จะมีค่าความร้อนที่คงที่ ผู้สั่งหรือผู้ซื้อจะต้องแจ้งไปยังผู้ขายว่าต้องการ LNG ที่มีค่าความร้อนเท่าใด ตัวอย่างเช่นโรงแยกก๊าซหรือผู้ผลิต LNG (รายใหญ่สุดคือประเทศการ์ต้า ผู้ซื้อรายใหญ่สุดคือญี่ปุ่น)  ผลิต LNG ได้ค่าความร้อนออกมาเป็น100บีทยู แต่อุตสาหกรรมในญี่ปุ่นต้องการ LNG ที่มีค่าความร้อน 110 บีทียู ผู้ผลิตก็จะเติมก๊าซโพรเพนเข้าไปตามอัตราส่วนที่เหมาะสมจึงจะได้ค่าความร้อนที่ญี่ปุ่นต้องการ หรือในทางกลับกัน ปตท ของเราต้องการ LNG ที่มีค่าความร้อนเพียงแค่90บีทียู ผู้ผลิตก็จะเติมบิวเทนลงไปตามอัตราส่วนเพื่อให้ได้ค่าความร้อนที่ ปตท ต้องการ  LNG ที่ได้ค่าความร้อนตามที่ต้องการแล้วจึงเข้ากระบวนการทำให้เป็นของเหลว ก็จะทำการขนส่งด้วยเรือหรือยานพาหนะอื่นๆที่ควบคุมความเย็นให้คงที่ที่ลบ162องศา เข้าสู่สถานีรับก๊าซที่ต้องถูกสร้างให้สามารถกักเก็บก๊าซเหลวที่อุณหภูมิติดลบได้ตลอดเวลา เมื่อจะนำไปใช้งานก็จะผ่านกระบวนการทำให้เป็นก๊าซเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการใช้งานต่อไป    อย่างไรก็ตาม LNG ก็คือ NGV ที่อยู่กันคนละสถานะเท่านั้น เมื่อใดที่มีความจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้งานในภาคขนส่งหรือในรถยนต์ ก็สามารถที่จะนำมาใช้ได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องดัดแปลงเสริมแต่อุปกรณ์ชิ้นส่วนใดๆในรถยนต์เพราะ เมื่อจะนำมาใช้ในรถยนต์สถานีเติมก๊าซจะต้องเปลี่ยนสถานะของLNG ให้เป็น NGV เสียก่อนจึงจะเติมเข้าไปในถังบรรจุก๊าซในรถยนต์ได้ ผู้ใช้รถน่าจะได้รับผลดีจากการใช้LNG มากขึ้น เพราะ LNG เป็นก๊าซธรรมชาติที่มีความบริสุทธิ์ของมีเทนมากกว่าที่มีอยู่ในNGV บ้านเราในปัจจุบัน ทำให้สบายใจหายห่วงได้ในเรื่องสำหรับคุณภาพ

CAD - Step by Step 1

ตัวอย่างการเขียน CAD รูปทรงพื้นฐานด้วย UG NX




Click >> CAD Step by Step



CAD / CAM / CAE



CAD ย่อมาจาก Computer Aided Design ซึ่งแปลตามศัพท์ได้ว่า การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ แต่อาจมีหลายท่านอาจเคยได้ยินคำว่า CADD ซึ่งย่อมาจาก Computer Aided Design and Drafting การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบและเขียนแบบ CAD เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมคือ
 - พัฒนาแบบจำลองชิ้นส่วนจากแบบที่ได้รับ
 - ประเมินการแก้ไขข้อมูล CAD ของชิ้นส่วนที่ออกแบบบนระบบ CAD เพื่อให้ยอมรับได้ในการผลิต
 - เปลี่ยนแปลงชิ้นส่วนที่ออกแบบเพื่อให้สามารถผลิตได้ สิ่งนี้อาจรวมถึงการเพิ่มมุมสอบ (Draft angle)หรือพัฒนาแบบจำลองของชิ้นส่วนที่แตกต่างกันออกไป สำหรับขั้นตอนที่แตกต่างกันในกระบวนการผลิตที่ซับซ้อน
 - ออกแบบอุปกรณ์จับยึด โพรงแบบ (Model cavity) ฐานแม่พิมพ์ (Model base) หรือ เครื่องมืออื่นๆ
ซอฟท์แวร์ CAD ได้ถูกพัฒนาให้มีความสามารถมากยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีความเร็วมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงทำให้ผู้ใช้ซอฟท์แวร์ CAD ในปัจจุบัน ทำงานเขียนแบบและออกแบบ ได้ง่าย และรวดเร็วซอฟแวร์ CAD มีให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้ไม่ว่าจะอยู่วงการใดๆ เช่น
· วงการสถาปัตยกรรม; AutoDesk Architectural Desktop, Micro station J , Arris ฯลฯ
· วงการโยธา; AutoDesk Land Survey , MX ฯลฯ
· วงการก่อสร้างโรงงาน; AutoPlant Piping , Xsteel , CADWork ฯลฯ
· วงการเครื่องจักรกล;CATIA, I-Deas, Inventor, Pro/Engineer , SolidEdge , SolidWorks , Unigraphics ฯลฯ
· วงการอัญมณี; JewelCAD ฯลฯ
· วงการแผนที่; ESRI , AutoCAD MAP ฯลฯ


CAM ย่อมาจาก Computer Aided Manufacturing คือการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต ซึ่งจะใช้ซอร์ฟแวร์เพื่อควบคุมเครื่องจักร ให้สามารถสร้างชิ้นงานหรือชิ้นส่วนได้ตามที่ได้ออกแบบไว้แล้ว มีองค์ประกอบหลักๆ คือ เครื่องจักร CNC และ ซอร์ฟแวร์สำหรับงาน CAM  ระบบการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิตนี้ มีองค์ประกอบหลัก ๆ คือ
  เครื่องจักรซีเอ็นซี (CNC: Computer Numerical Controlled)  คือ เครื่องจักรที่ใช้สำหรับกัดวัตถุดิบ(โลหะ, ไม้, พลาสติกสังเคราะห์) ให้ได้รูปร่าง ตามแบบชิ้นงานที่ได้ออกแบบไว้แล้ว
  ซอฟท์แวร์สำหรับงาน CAM ซึ่งมีมากมายหลายยี่ห้อให้เลือกใช้ ซึ่งควรมีคุณสมบัติ  ดังนี้
รับข้อมูล 3 มิติจากซอฟท์แวร์ CAD ได้ในรูปแบบมาตรฐาน (IGES, STEP, STL)
เลือก Tool หรือ หัวกัดชิ้นงาน ตามขนาดที่ต้องการ กำหนด การกัดงานด้วยรูปแบบต่างๆได้แก่ การกัดหยาบ, กัดละเอียด
ทดสอบการกัดชิ้นงาน บนจอภาพเพื่อตรวจสอบก่อนการกัดงานจริ (ส่วนนี้ซอฟท์แวร์บางตัวอาจยังไม่มีให้ใช้งาน)
สร้าง G code ซึ่งเป็นรหัสเพื่อบอกให้เครื่องจักรทำงานตามขั้นตอนที่ กำหนดไว้ได้ถูกต้อง
 ซึ่งซอฟท์แวร์ CAM นั้นจะต้องสร้าง G code ให้มีรูปแบบตรงกับ รูปแบบที่เครื่องจักรรุ่นนั้น ๆ รู้จัก ตัวอย่างรายชื่อซอฟท์แวร์ CAM; MasterCAM, DelCAM, Esprit, EdgeCAM, GibbsCAM, SolidCAM
              
  
CAE ย่อมาจาก Computer Aided Engineering คือการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานวิศวกรรม หมายถึงการบอกถึงความสามารถของสิ่งที่ออกแบบว่าสามารถทำงานได้ตามที่อยากให้เป็นหรือไม่ ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวบ่งชี้ คือ ผลลัพธ์จากการทดสอบจริง ได้แก่ การนำต้นแบบมาทดสอบจริง เช่น การทดสอบการชนของรถ หรือ การทดสอบความแข็งด้วยการอัดแรง ฯลฯผลลัพธ์จากการคำนวณด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ สามารถหาผลลัพธ์จากสถานการณ์ที่สมมุติขึ้น ซึ่งการคำนวณแบบนี้ จะใช้เวลามาก กว่าจะได้ผลลัพธ์ ทำให้วิศวกรนำคอมพิวเตอร์และซอร์ฟแวร์ประเภท CAE มาช่วยคำนวณหาผลลัพธ์ ซึ่งจะทำให้คำนวณได้เร็วกว่ามาก และมีความถูกต้องสูง


ความสัมพันธ์และการใช้งานร่วมกันของ CAD/CAM และ CAE
การผลิตโดยทั่วไปจะเริ่มต้นจากการใช้ CAD ในการออกแบบชิ้นส่วนหรือแก้ไขข้อมูลเชิงตัวเลขที่ได้จากการสแกนชิ้นงาน หลังจากนั้นจะใช้ CAE ในการวิเคราะห์ชิ้นส่วนต่าง ๆ ว่ามีคุณสมบัติตามที่ต้องการหรือไม่ และถ้าพบมีปัญหาก็จะใช้ CAD แก้ไขจุดบกพร่องต่างๆ  แล้วใช้ CAE วิเคราะห์จนกว่าจะได้ชิ้นส่วนที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ หลังจากการใช้ CAE วิเคราะห์ชิ้นงานจนได้ตามที่ต้องการแล้วก็จะใช้ CAM แก้ไขเส้นทางเดินทางของเครื่องมือกัดขึ้นรูปแล้วจากนั้นก็ใช้ CAM สร้างรหัสจีเพื่อส่งไปให้เครื่องจักรซีเอ็นซี ทำการกัดขึ้นรูปชิ้นงานหรือกัดแม่พิมพ์ เมื่อซีเอ็นซี กัดชิ้นงานเสร็จแล้ว เรายังสามารถใช้ CAE ในการตรวจสอบชิ้นงานที่สร้างขึ้นมาว่ามีขนาดตรงตามแบบหรือไม่ ในกรณีที่งานต้องการความเที่ยงตรงสูง ดังรูปที่ 1 Product Life Cycle Management Concept แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของ CAD/CAM และ CAE ที่ใช้ในการผลิต

 Product Life Cycle Management Concept

      ระบบ CAD/CAM/CAE ไม่จำเป็นที่ดีที่สุดที่ขายในท้องตลาด สิ่งที่สำคัญคือการเลือกใช้งานตามความเหมาะสมกับความต้องการกับการใช้งานของโรงงานหรือบริษัทนั้น ๆ ถึงแม้ว่าโรงงานที่ใช้ระบบงานนี้ได้ดี สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้การใช้งานระบบประสิทธิภาพคือบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ต้องมีความรู้ความเข้าใจในระบบดีพอสมควร เช่น งานทำแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก เราใช้ CAE ทบทวนชิ้นส่วนที่ออกแบบก่อนที่จะใช้เครื่องจักรซีเอ็นซีทำการกัดขึ้นรูป เพื่อยืนยันว่าแม่พิมพ์เมื่อนำไปฉีดแล้วพลาสติกจะไหลเข้าไปเต็มแม่พิมพ์อย่างถูกต้องแน่นอน ซึ่งการวิเคราะห์นี้จะทำให้เราเห็นว่าพื้นที่ส่วนไหนที่พลาสติกไม่สามารถไหลเข้าไปได้เต็ม หรือทำให้เกิดโพรงอากาศ หรือเส้นรอยเชื่อมต่อ การเปลี่ยนแปลงแบบเพื่อปรับปรุงให้สามารถฉีดพลาสติกได้เต็มแบบสามารถทำได้ในจุดนี้ซึ่งแบบยังไม่ได้ทำจริง สิ่งนี้จะช่วยประหยัดเงินทุนจำนวนมากซึ่งเกี่ยวเนื่องกันการเปลี่ยนเครื่องมือกัดชิ้นงาน