วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

ให้เงินทำงานแทนเราทำ OT


Money Machine


ถ้าพูดถึงเงิน 20,000 บาท สำหรับใครบางคนก็คงไม่มากนัก แต่กับใครบางคนก็ไม่ง่ายเลยที่จะหามาได้... เรากำลังพูดถึง รายได้จำนวน 20,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นปี ก็ปีละ 240,000 บาท ...ด้วยเงินจำนวนเท่านี้ จริงๆ แล้วถ้าไม่ได้ใช้อะไรมากมาย ก็คงจะเพียงพอ กับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ของบางคน หรือบางครอบครัว อย่างสบายๆ 

             ผมจึงมีความคิดอย่างหนึ่งว่า ถ้าเราสามารถได้เงินจำนวนนี้ มาจากเงินปันผลในหุ้น (แน่นอนล่ะ มันต้องหัก ภาษี 10% ด้วย..เอาน่าอย่างเพิ่งไปคิดให้ปวดหัว) 

              หลักการ ก็คือว่า ถ้าเราวางเงินเก็บเย็นๆ ของเราไว้ในหุ้นของบริษัทฯ ที่มั่นคง ให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง สามารถจ่ายปันผลให้เราได้อย่างต่อเนื่อง ได้ 20,000 บาท ทุกๆ เดือน หรือ ก็คือ 240,000 บาทต่อปี โดยที่เราไม่ต้องไปคอยดูราคา ซื้อๆ ขายๆ มันทุกวัน ... (... จริงดิ.. ได้อย่างนั้น ก็ เจ๋งสิ.... แล้ว มันจะเป็นไปได้ไหม... ) 

              สมมุติว่า เรามองหา ปันผล 6% ต่อปี เป็น เงิน 240,000 บาท ก็หมายความว่า เราต้องใช้ เงินต้น 4 ล้าน ในการลงทุนซื้อหุ้น และถือไว้นิ่งๆ ...แต่บริษัทฯ ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่มีบริษัทฯ ไหนจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้น ทุกเดือนแน่นอน จะมี ก็จ่ายปันผล ปีละ 1 ครั้ง หรือ ปีละ 2 ครั้ง หรือ ถ้าผลประกอบการดีจัด ก็อาจจะแถมให้อีกครั้ง เป็น 3 ครั้ง .. เราจึงต้องกระจายซื้อหุ้นบริษัทฯ หลายแห่ง เพื่อที่จะได้ ปันผลทุกเดือน หรือ ทุกๆ สองเดือน และยังเป็นการกระจายความเสี่ยงจาก Cycle ของกิจการต่างๆ ด้วย .. 

              บริษัทฯ ที่สามารถให้ผลตอบแทนได้สูง มากกว่า 8% ต่อปี อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมา ในตลาดหุ้นตอนนี้มันช่างน้อยเหลือเกิน แต่ถ้าขยายวงออกไปให้เป็น มากกว่า 6% ย้อนหลังแค่ 3 ปีที่ผ่านมา ก็พอจะมีให้เลือกมากหน่อย 

             แน่นอนว่า ในการเลือกลงทุน เราก็คงจะต้องเลือก บริษัทฯ ที่มีความมั่งคง มีผลประกอบการที่ดีด้วย และมีราคาหุ้น ที่ไม่สูงเกินกว่า มูลค่าที่แท้จริง มากจนเกินไป.. เพื่อที่จะได้เด้งที่สอง จากการเติบโตของมูลค่าหุ้นในอนาคต.. (อ่ะนะ ... หลักการดี ใครก็คิดได้ ทำยังไง ล่ะ...) 

             ก็ต้องทำการคัดตัวหุ้น เข้ารอบกันล่ะ โดยใช้ ค่า P/E , P/Bv, ROE, D/E ratio เหล่านี้ ต้องถูกนำมาพิจารณาประกอบการเลือก...ในแง่ของปัจจัยพื้นฐานของกิจการในช่วงที่ผ่านมา 

             และอีกสิ่งที่จะต้องพิจารณาด้วยก็คือ ผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจรอบโลกกลมๆ ใบนี้ ซึ่งมีเกิดขึ้นให้เห็นเพิ่มขึ้นทุกวันๆ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติการเงินในสหรัฐ วิกฤติหนี้ของกลุ่มประเทศยุโรป และยังต้องคอยติดตาม นโยบายของรัฐที่จะออกมาในอนาคตด้วย ... 

              Criteria หรือ เงื่อนไขในการคัดกรองหุ้นของบริษัทฯ ที่มีพื้นฐานดี นั้นก็มีตำรา บทวิเคราะห์ มากมายให้ค้นหากัน .. ใครจะใช้เงื่อนไขยังไงแบบไหน ก็ตามความเสี่ยงที่จะรับได้ หรือจะตามความชอบส่วนตัวก็แล้วแต่นะครับ เพราะนักลงทุนบางคน เขาไม่ลงทุนในกลุ่มบริษัทฯ ที่เขาไม่ถนัด ถึงแม้มันจะดีกว่าแค่ไหนก็ตาม เมื่อเราเลือกหุ้นเข้ามาใน Focus Group ของเราได้แล้ว 

             จากนั้นให้คะแนนด้านพื้นฐาน กับหุ้นของบริษัทฯ เหล่านั้น จาก 1-10 คะแนน โดยที่หุ้นที่ปัจจัย พื้นฐานน่าสนใจที่สุดตาม เงื่อนไขของเราที่ตั้งไว้ เช่น เราใช้ P/E , P/Bv, D/E และข้อมูลในการดำเนินกิจการในอนาคต เป็นตัวชี้วัดคะแนน 4 อย่าง ก็อย่างละ 10 คะแนน แล้วก็ทำ Criteria Score Card ขึ้นมาให้กับ ตัวชี้วัดทั้ง 4 ได้คะแนนเฉลี่ยออกมาเท่าไหร่ ก็ บันทึก ไว้ . 

               เราทำการให้คะแนนด้านพื้นฐานไปแล้ว ต่อไปก็ต้องมาให้คะแนน ด้านเทคนิค กันบ้างล่ะ แนะนำให้ใช้ Weekly Chart มาดูปัจจัยด้านเทคนิค เพื่อดูว่าหน้าตากราฟในภาพใหญ่ๆ มีรูปแบบกราฟของหุ้นเป็นยังไง บ้าง ดูน่าสนใจมากมาน้อยแค่ไหน...แล้วเราก็จะให้คะแนน ด้านเทคนิค จาก 1-10 คะแนน เช่นกัน
             ด้วยภาพทางเทคนิคในภาพใหญ่ หุ้นที่มีหน้าตาที่พร้อมวิ่งขึ้นได้อย่างแข็งแรงในตอนนี้ หรือในอนาคต ให้ 9-10 คะแนน
             หุ้นที่พักตัว หรือ sideway แต่มีแนวโน้มจะขึ้นได้ เพียงรอ Signal ก็ให้คะแนน 6-8
             ส่วนหุ้นที่หลับ หรือออกข้างแคบๆ ก็อาจจะให้คะแนน 4-5 คะแนน
             และหุ้นที่ออกอาการไหลลง ก็คงจะให้คะแนนน้อยกว่า 4 ไปตามลำดับความเลวร้าย 

           จากนั้น เราก็นำคะแนนพื้นฐาน และ คะแนนเทคนิค ก็มา Plot Metrix
ให้ Fundamental Score เป็นแกน X และ  Technical Score เป็น แกน Y 
ก็จะได้ หุ้น พื้นฐานดี 4 กลุ่ม ดังภาพ



ส่วนนักลงทุนแต่ละคนชอบหุ้นแบบไหน จะกระจายความเสี่ยงยังไง ก็จัดการไปตามความชอบและความต้องการของแต่ละคน เพราะอย่างไร หุ้นที่เราคัดมานั้นก็ล้วน เป็นหุ้นที่ ให้ปันผล มากกว่า 6% ต่อปีตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ทั้งสิ้น ก็ ลองดูเป็น ไอเดีย ในการใช้ทุนที่มี วางลงไปให้ถูกที่ถูกทาง ...










ขอบคุณ พี่ปุย(Wave Rider) แห่งสำนัก S2M ,,,

Mind map of engineer student




What on your mind? LOL

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีผู้นำ ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย





 " ทุกวันนี้ผมแทบจะจำเนื้อหาที่เรียนมาไม่ได้เลย เช่นผมเรียนวิศวะเครื่องกล แต่ถ้าให้ดูเรื่องเครื่องยนต์กลไก หรือกระทั่งให้เปลี่ยนยางรถยนต์ก็แทบจะทำไม่ได้ " เป็นการสื่อความว่าการศึกษาไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่สุด

 แม้แต่ เอ็มบีเอ หลักสูตรท้อบฮิตที่ผู้บริหารขององค์กรไซส์ใหญ่หรือเล็ก ทั้งภาครัฐหรือเอกชนต่างไม่พลาด รวมถึงดร.วิชิตเอง แต่เขาก็ยังให้คุณค่ามันน้อยมาก   อย่างไรก็ดีคุณค่าสูงสุดที่เขาได้รับจากเอ็มบีเอก็คือ เครือข่าย หรือ Networking ทำนองเดียวกับคำกล่าวที่ว่า ชีวิตคนเราจะประสบความสำเร็จได้ อยู่ที่ว่าเรากินข้าวกินกับใคร เรียนกับใคร ใช้ชีวิตกับใคร

 "เพื่อนๆ ในห้องเรียนเอ็มบีเอล้วนมีพื้นฐานด้านธุรกิจทุกคน เพื่อนคนนี้เก่งด้านการตลาด คนนั้นด้านการขาย อีกคนด้านการเงิน พอพวกเราได้พูดคุยกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ตรงนี้กลับได้ความรู้เยอะมาก "

  เขาฟันธงว่าการก้าวเป็นผู้นำโดยเฉพาะตำแหน่งซีอีโอบริษัทยักษ์ใหญ่ต้องมีเครือข่าย  ถ้าเป็นคนที่มีมุมมอง หรือประสบการณ์แคบๆ หรือเก่งแค่ด้านใดด้านเดียว คงเป็นได้แค่ Specialist  เท่านั้น

  เพราะซีอีโอต้องเป็นผู้รอบรู้ ขณะเดียวกันจำเป็นต้องรู้ด้วยว่าตัวเองไม่รู้เรื่องอะไร  แม้จะไม่รู้แต่ต้องไม่บอด

อ่านบทความเต็มได้ที่เว็ปข้างล่างเลยครับ

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ http://goo.gl/UbdmU

วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

ก๊าซเหลว LNG





                ปตท เป็นผู้นำเข้าก๊าซเหลวหรือ LNG เข้ามาใช้งานในบ้านเรา หลายคนอาจจะตั้งคำถามว่า LNG เป็นก๊าซตัวใหม่หรือและเมื่อนำเข้ามาแล้วถ้าจะนำไปใช้กับรถยนต์จะได้หรือไม่หรือจะมีปัญหาอะไรบ้างไหมก็ต้องย้อนกล่าวไปถึงเรื่องก๊าซธรรมชาติที่ได้จากการขุดเจาะทั้งใต้ทะเลและบนบก ถ้าเอาแกลลอนสักหนึ่งลิตรตักเอาก๊าซธรรมชาติที่ได้ขึ้นมาตรวจดู จะเห็นว่าก๊าซหนึ่งลิตรนั้นจะเป็นก๊าซมีเทน (Methane CH4) ไปประมาณร้อยละ87 ส่วนที่เหลือที่ผสมอยู่จนเต็มลิตรนั้นก็จะมีก๊าซอีกหลายตัว ที่โรงแยกก๊าซสามารถจะแยกเอาไปใช้งาน ทั้งในเชิงพาณิชย์และการอุตสาหกรรมได้มากมาย เช่น Propane, Butane, CO2, Ethane etc ก๊าซธรรมชาติที่แยกออกมานี้ถ้าส่งออกไปขายโดยส่งไปตามท่อจะเรียกว่า Sales gas หรือ PNG Pipe Natural Gas หรือถ้าจับเอาโพรเพนกับบิวเทนมาผสมกันในอัตราส่วนที่พอเหมาะเช่น 60:40 หรือ70:30 แล้วบรรจุลงในถัง ก็จะกลายเป็นก๊าซหุงต้มหรือก๊าซ LPG (Liquefied Natural Gas)ที่เรารู้จักกันดี ก๊าซมีเทนที่เหลือ เมื่อนำมาอัดด้วยแรงดันสูงบรรจุเข้าไว้ในถังที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษที่ทนแรงดันได้มากกว่า200บาร์(200เท่าของแรงดันบรรยากาศรอบตัวเรา)ก็จะถูกเรียกว่าก๊าซ CNG (Compressed Natural Gas) ที่เอามาเป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ทุกชนิดในบ้านเราที่ถูกเรียกกันว่า NGV (Natural Gas for Vehicle) ก๊าซมีเทนที่ถูกนำมาอัดเข้าถังแม้จะสะดวกในการใช้งานและการขนส่ง แต่ก็ยังถือว่าไม่สะดวกมากนักกับการขนส่งเพราะได้ปริมาณครั้งละไม่มากเมื่อเทียบกับปริมาณที่ต้องการในการนำไปใช้ทำเชื้อเพลิงการนำมีเทนหรือก๊าซธรรมชาติมาทำให้เป็นของเหลวโดยการใช้ความเย็นที่ ลบ162องศาเซลเชียส หรือที่ลบ260องศาฟาเรนท์ไฮต์ นั้นจะทำให้ได้ปริมาตรที่มากขึ้นถึง600เท่า(มีเทนก๊าซ 600ลิตรเมื่อทำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิดังกล่าวจะเหลือเพียง1ลิตร) ก็จะได้เป็นก๊าซเหลวที่เรียกว่า LNG Liquefied Natural Gas ทำให้สะดวกในการขนส่งไปยังแหล่งที่ต้องการใช้งาน ถ้ามองกันแค่นี้ก็ไม่น่ายากที่จะทำให้เกิดขึ้น และปตท.ควรจะทำมาตั้งนานแล้ว แต่ในความเป็นจริงนั้นกระบวนการที่จะทำให้ก๊าซธรรมชาติเป็นก๊าซเหลวนั้นไม่ยาก ความยากอยู่ตรงที่ว่า กาซธรรมชาติที่มีมีเทนอยู่ร้อยละ87 นั้น ถ้าจะนำมาทำเป็น LNG ที่มีคุณสมบัติตามที่ผู้ใช้ต้องการนั้นจะต้องแยกเอาเพียงแต่ก๊าซมีเทนให้ได้ความบริสุทธิ์มากกว่าร้อยละ95  ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผู้ที่จะนำLNG มาใช้เป็นเชื้อเพลิงนั้นจะใช้ก๊าซที่ได้(มี)ค่าความร้อนที่ไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับประเภทของงานหรืออุตสาหกรรมที่ใช้ แต่มีเทนที่บริสุทธิ์นี้จะมีค่าความร้อนที่คงที่ ผู้สั่งหรือผู้ซื้อจะต้องแจ้งไปยังผู้ขายว่าต้องการ LNG ที่มีค่าความร้อนเท่าใด ตัวอย่างเช่นโรงแยกก๊าซหรือผู้ผลิต LNG (รายใหญ่สุดคือประเทศการ์ต้า ผู้ซื้อรายใหญ่สุดคือญี่ปุ่น)  ผลิต LNG ได้ค่าความร้อนออกมาเป็น100บีทยู แต่อุตสาหกรรมในญี่ปุ่นต้องการ LNG ที่มีค่าความร้อน 110 บีทียู ผู้ผลิตก็จะเติมก๊าซโพรเพนเข้าไปตามอัตราส่วนที่เหมาะสมจึงจะได้ค่าความร้อนที่ญี่ปุ่นต้องการ หรือในทางกลับกัน ปตท ของเราต้องการ LNG ที่มีค่าความร้อนเพียงแค่90บีทียู ผู้ผลิตก็จะเติมบิวเทนลงไปตามอัตราส่วนเพื่อให้ได้ค่าความร้อนที่ ปตท ต้องการ  LNG ที่ได้ค่าความร้อนตามที่ต้องการแล้วจึงเข้ากระบวนการทำให้เป็นของเหลว ก็จะทำการขนส่งด้วยเรือหรือยานพาหนะอื่นๆที่ควบคุมความเย็นให้คงที่ที่ลบ162องศา เข้าสู่สถานีรับก๊าซที่ต้องถูกสร้างให้สามารถกักเก็บก๊าซเหลวที่อุณหภูมิติดลบได้ตลอดเวลา เมื่อจะนำไปใช้งานก็จะผ่านกระบวนการทำให้เป็นก๊าซเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการใช้งานต่อไป    อย่างไรก็ตาม LNG ก็คือ NGV ที่อยู่กันคนละสถานะเท่านั้น เมื่อใดที่มีความจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้งานในภาคขนส่งหรือในรถยนต์ ก็สามารถที่จะนำมาใช้ได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องดัดแปลงเสริมแต่อุปกรณ์ชิ้นส่วนใดๆในรถยนต์เพราะ เมื่อจะนำมาใช้ในรถยนต์สถานีเติมก๊าซจะต้องเปลี่ยนสถานะของLNG ให้เป็น NGV เสียก่อนจึงจะเติมเข้าไปในถังบรรจุก๊าซในรถยนต์ได้ ผู้ใช้รถน่าจะได้รับผลดีจากการใช้LNG มากขึ้น เพราะ LNG เป็นก๊าซธรรมชาติที่มีความบริสุทธิ์ของมีเทนมากกว่าที่มีอยู่ในNGV บ้านเราในปัจจุบัน ทำให้สบายใจหายห่วงได้ในเรื่องสำหรับคุณภาพ

CAD - Step by Step 1

ตัวอย่างการเขียน CAD รูปทรงพื้นฐานด้วย UG NX




Click >> CAD Step by Step



CAD / CAM / CAE



CAD ย่อมาจาก Computer Aided Design ซึ่งแปลตามศัพท์ได้ว่า การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ แต่อาจมีหลายท่านอาจเคยได้ยินคำว่า CADD ซึ่งย่อมาจาก Computer Aided Design and Drafting การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบและเขียนแบบ CAD เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมคือ
 - พัฒนาแบบจำลองชิ้นส่วนจากแบบที่ได้รับ
 - ประเมินการแก้ไขข้อมูล CAD ของชิ้นส่วนที่ออกแบบบนระบบ CAD เพื่อให้ยอมรับได้ในการผลิต
 - เปลี่ยนแปลงชิ้นส่วนที่ออกแบบเพื่อให้สามารถผลิตได้ สิ่งนี้อาจรวมถึงการเพิ่มมุมสอบ (Draft angle)หรือพัฒนาแบบจำลองของชิ้นส่วนที่แตกต่างกันออกไป สำหรับขั้นตอนที่แตกต่างกันในกระบวนการผลิตที่ซับซ้อน
 - ออกแบบอุปกรณ์จับยึด โพรงแบบ (Model cavity) ฐานแม่พิมพ์ (Model base) หรือ เครื่องมืออื่นๆ
ซอฟท์แวร์ CAD ได้ถูกพัฒนาให้มีความสามารถมากยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีความเร็วมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงทำให้ผู้ใช้ซอฟท์แวร์ CAD ในปัจจุบัน ทำงานเขียนแบบและออกแบบ ได้ง่าย และรวดเร็วซอฟแวร์ CAD มีให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้ไม่ว่าจะอยู่วงการใดๆ เช่น
· วงการสถาปัตยกรรม; AutoDesk Architectural Desktop, Micro station J , Arris ฯลฯ
· วงการโยธา; AutoDesk Land Survey , MX ฯลฯ
· วงการก่อสร้างโรงงาน; AutoPlant Piping , Xsteel , CADWork ฯลฯ
· วงการเครื่องจักรกล;CATIA, I-Deas, Inventor, Pro/Engineer , SolidEdge , SolidWorks , Unigraphics ฯลฯ
· วงการอัญมณี; JewelCAD ฯลฯ
· วงการแผนที่; ESRI , AutoCAD MAP ฯลฯ


CAM ย่อมาจาก Computer Aided Manufacturing คือการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต ซึ่งจะใช้ซอร์ฟแวร์เพื่อควบคุมเครื่องจักร ให้สามารถสร้างชิ้นงานหรือชิ้นส่วนได้ตามที่ได้ออกแบบไว้แล้ว มีองค์ประกอบหลักๆ คือ เครื่องจักร CNC และ ซอร์ฟแวร์สำหรับงาน CAM  ระบบการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิตนี้ มีองค์ประกอบหลัก ๆ คือ
  เครื่องจักรซีเอ็นซี (CNC: Computer Numerical Controlled)  คือ เครื่องจักรที่ใช้สำหรับกัดวัตถุดิบ(โลหะ, ไม้, พลาสติกสังเคราะห์) ให้ได้รูปร่าง ตามแบบชิ้นงานที่ได้ออกแบบไว้แล้ว
  ซอฟท์แวร์สำหรับงาน CAM ซึ่งมีมากมายหลายยี่ห้อให้เลือกใช้ ซึ่งควรมีคุณสมบัติ  ดังนี้
รับข้อมูล 3 มิติจากซอฟท์แวร์ CAD ได้ในรูปแบบมาตรฐาน (IGES, STEP, STL)
เลือก Tool หรือ หัวกัดชิ้นงาน ตามขนาดที่ต้องการ กำหนด การกัดงานด้วยรูปแบบต่างๆได้แก่ การกัดหยาบ, กัดละเอียด
ทดสอบการกัดชิ้นงาน บนจอภาพเพื่อตรวจสอบก่อนการกัดงานจริ (ส่วนนี้ซอฟท์แวร์บางตัวอาจยังไม่มีให้ใช้งาน)
สร้าง G code ซึ่งเป็นรหัสเพื่อบอกให้เครื่องจักรทำงานตามขั้นตอนที่ กำหนดไว้ได้ถูกต้อง
 ซึ่งซอฟท์แวร์ CAM นั้นจะต้องสร้าง G code ให้มีรูปแบบตรงกับ รูปแบบที่เครื่องจักรรุ่นนั้น ๆ รู้จัก ตัวอย่างรายชื่อซอฟท์แวร์ CAM; MasterCAM, DelCAM, Esprit, EdgeCAM, GibbsCAM, SolidCAM
              
  
CAE ย่อมาจาก Computer Aided Engineering คือการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานวิศวกรรม หมายถึงการบอกถึงความสามารถของสิ่งที่ออกแบบว่าสามารถทำงานได้ตามที่อยากให้เป็นหรือไม่ ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวบ่งชี้ คือ ผลลัพธ์จากการทดสอบจริง ได้แก่ การนำต้นแบบมาทดสอบจริง เช่น การทดสอบการชนของรถ หรือ การทดสอบความแข็งด้วยการอัดแรง ฯลฯผลลัพธ์จากการคำนวณด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ สามารถหาผลลัพธ์จากสถานการณ์ที่สมมุติขึ้น ซึ่งการคำนวณแบบนี้ จะใช้เวลามาก กว่าจะได้ผลลัพธ์ ทำให้วิศวกรนำคอมพิวเตอร์และซอร์ฟแวร์ประเภท CAE มาช่วยคำนวณหาผลลัพธ์ ซึ่งจะทำให้คำนวณได้เร็วกว่ามาก และมีความถูกต้องสูง


ความสัมพันธ์และการใช้งานร่วมกันของ CAD/CAM และ CAE
การผลิตโดยทั่วไปจะเริ่มต้นจากการใช้ CAD ในการออกแบบชิ้นส่วนหรือแก้ไขข้อมูลเชิงตัวเลขที่ได้จากการสแกนชิ้นงาน หลังจากนั้นจะใช้ CAE ในการวิเคราะห์ชิ้นส่วนต่าง ๆ ว่ามีคุณสมบัติตามที่ต้องการหรือไม่ และถ้าพบมีปัญหาก็จะใช้ CAD แก้ไขจุดบกพร่องต่างๆ  แล้วใช้ CAE วิเคราะห์จนกว่าจะได้ชิ้นส่วนที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ หลังจากการใช้ CAE วิเคราะห์ชิ้นงานจนได้ตามที่ต้องการแล้วก็จะใช้ CAM แก้ไขเส้นทางเดินทางของเครื่องมือกัดขึ้นรูปแล้วจากนั้นก็ใช้ CAM สร้างรหัสจีเพื่อส่งไปให้เครื่องจักรซีเอ็นซี ทำการกัดขึ้นรูปชิ้นงานหรือกัดแม่พิมพ์ เมื่อซีเอ็นซี กัดชิ้นงานเสร็จแล้ว เรายังสามารถใช้ CAE ในการตรวจสอบชิ้นงานที่สร้างขึ้นมาว่ามีขนาดตรงตามแบบหรือไม่ ในกรณีที่งานต้องการความเที่ยงตรงสูง ดังรูปที่ 1 Product Life Cycle Management Concept แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของ CAD/CAM และ CAE ที่ใช้ในการผลิต

 Product Life Cycle Management Concept

      ระบบ CAD/CAM/CAE ไม่จำเป็นที่ดีที่สุดที่ขายในท้องตลาด สิ่งที่สำคัญคือการเลือกใช้งานตามความเหมาะสมกับความต้องการกับการใช้งานของโรงงานหรือบริษัทนั้น ๆ ถึงแม้ว่าโรงงานที่ใช้ระบบงานนี้ได้ดี สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้การใช้งานระบบประสิทธิภาพคือบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ต้องมีความรู้ความเข้าใจในระบบดีพอสมควร เช่น งานทำแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก เราใช้ CAE ทบทวนชิ้นส่วนที่ออกแบบก่อนที่จะใช้เครื่องจักรซีเอ็นซีทำการกัดขึ้นรูป เพื่อยืนยันว่าแม่พิมพ์เมื่อนำไปฉีดแล้วพลาสติกจะไหลเข้าไปเต็มแม่พิมพ์อย่างถูกต้องแน่นอน ซึ่งการวิเคราะห์นี้จะทำให้เราเห็นว่าพื้นที่ส่วนไหนที่พลาสติกไม่สามารถไหลเข้าไปได้เต็ม หรือทำให้เกิดโพรงอากาศ หรือเส้นรอยเชื่อมต่อ การเปลี่ยนแปลงแบบเพื่อปรับปรุงให้สามารถฉีดพลาสติกได้เต็มแบบสามารถทำได้ในจุดนี้ซึ่งแบบยังไม่ได้ทำจริง สิ่งนี้จะช่วยประหยัดเงินทุนจำนวนมากซึ่งเกี่ยวเนื่องกันการเปลี่ยนเครื่องมือกัดชิ้นงาน

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

Introduction to NX



NX คือ ซอฟแวร์โซลูชั่นซึ่งรองรับกระบวนการทำงานทางด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งมี Unigraphics ที่ผู้ใช้งานซอฟแวร์ด้าน CAD/CAM คุ้นเคยกันเป็นส่วนหนึ่งของ NX ด้วย ดังนั้น NX จึงไม่ใช่เป็นแค่เพียงซอฟแวร์ทางด้าน CAD/CAM เพียงอย่างเดียว แต่เป็น Solutions ที่มีความสามารถหลากหลายที่มีบทบาทต่อการพัฒนาวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ( Product Life cycle Management ) ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ ( Industrial Design ) จนกระทั่งนำไปสู่การออกแบบทางด้านวิศวกรรม ( Engineering Design ) และ จนกระทั่งถึงการผลิตเพื่อให้ได้งานนั้นออกมา ( Manufacturing )
NX มาจากคำว่า Next Generation ซึ่งหมายถึงเป็น Solutions สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในยุคใหม่ และ NX เองก็มี Solutions ต่างๆรองรับลักษณะการทำงานที่แตกต่างหลากหลาย เพื่อท้าทายกับธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงอย่างเช่นทุกวันนี้






   NX Solutions ประกอบไปด้วย
      1.  งานออกแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Design)
2. งานออกแบบเชิงกล (Mechanical Design)
3. งานวิเคราะห์ทางวิศวกรรม (Computer Aided Engineering)
4. งานออกแบบที่ต้องใช้ความรู้เฉพาะทาง (Knowledge-Driven Automation)
5. งานออกแบบการขึ้นรูปชิ้นงานด้วยเครื่อง CNC (Digital Manufacturing)


งานออกแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Design)
ในหลายๆอุตสาหกรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ( New Product Design ) ถือเป็นหัวใจสำคัญในการครองตลาดของผลิตภัณฑ์นั้นๆได้ ซึ่งในบางครั้งผลิตภัณฑ์อาจเพิ่ม ฟังค์ชั่น และ เปลี่ยนดีไซน์ไปให้ดูทันสมัยขึ้น ก็สามารถดึงดูดให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้ ทั้งๆ ที่ของเดิมก็ยังใช้งานได้ดีอยู่ ตลาดรถยนต์ และ โทรศัพท์มือถือ เป็นตัวอย่างที่ดีของผลิตภัณฑ์ที่เน้นการออกรุ่นใหม่สู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอเป็นจุดขาย การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อย่างทันท่วงทีสามารถสกัดกั้นผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งได้ หรืออย่างน้อยก็ได้ส่วนแบ่งตลาดในแบบที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในตลาดขณะนั้น ซึ่ง NX เองมีโซลูชั่นสำหรับงานออกแบบผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะ เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ UG Shape Studio
ด้วยเครื่องมือที่หลากหลายสำหรับ งานออกแบบผลิตภัณฑ์และงานรถยนต์ที่เน้นงานด้านพื้นผิว (Surface Design) เป็นพิเศษ รองรับความต่อเนื่องของพื้นผิวระดับ G3 ซึ่งถือเป็นมาตรฐานสำหรับการออกแบบพื้นผิวระดับ A (Class-A Surface) สำหรับงานออกแบบพื้นผิวสำหรับงานรถยนต์โดยเฉพาะ ซึ่งสามารถควบคุมได้ทั้งคุณภาพและความแม่นยำของขนาดด้วย NX ยังช่วยคุณให้แสงเงา รวมถึงพื้นผิว การสะท้อนแสง เพื่อให้งานของคุณออกมาดูเหมือนจริงมากที่สุด ช่วยให้คุณแสดงผลงานกับลูกค้าได้อย่างมั่นใจ NX Shape Studio จึงเป็นเครื่องมือของนักออกแบบผลิตภัณฑ์มืออาชีพ ที่มีเครื่องมือในการออกแบบเพียบพร้อมและใช้งานง่าย ซึ่งบริษัทชั้นนำต่างไว้ใจออกแบบผลิตภัณฑ์ของตนด้วย 







งานออกแบบเชิงกล (Mechanical Design)
NX สนับสนุนการออกแบบ Hybrid Modeling คือ เป็นทั้ง Solid และ Surface Modeling ฟีเจอร์ในการออกแบบสำหรับงานพลาสติก เช่น บอส ริป งานเดินท่อ เดินสายไฟ และ งานขึ้นรูปโลหะแผ่น (Sheet Metal) นอกจากนี้ยังช่วยงานประกอบ (Assembly) ตัวอย่างงานเช่น การออกแบบอุปกรณ์ภายในกล้องวิดีโอ หลังจากที่ได้ออกแบบรูปทรงภายนอกแล้ว โดย NX เองมีระบบการจัดการกับงานประกอบชิ้นส่วนที่ซับซ้อนเป็นจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และยิ่งไปกว่านั้น UG NX เองมีเครื่องมือในการคำนวณและวิเคราะห์ Tolerance ในการประกอบงานตามหลัก GD&T อีกด้วย และนอกจากนี้ยังมี Wizard สำหรับงาน Optimization งานดีไซน์โดยสามารถเลือกพารามิเตอร์หลักที่ใช้ในงานดีไซน์ เช่น เป้าหมายของงานออกแบบต้องการให้มีน้ำหนักเบาที่สุด ประหยัดที่สุด ก็สามารถผูกค่าพารามิเตอร์และคำนวณแบบ Optimization ได้








งานวิเคราะห์ทางวิศวกรรม (Computer Aided Engineering)
ปัจจุบันการวิเคราะห์ทางด้านวิศวกรรม (Computer Aided Engineering) สามารถทำงานต่อเนื่องบน CAD Model ได้NX มี Solutions สำหรับงานวิเคราะห์ทางด้านวิศวกรรมอยู่มากมายไม่ว่าเป็นการวิเคราะห์ไฟไนเอลิเมนต์ หรือ การวิเคราะห์งานกลไก ด้วยการทำงานแบบ Master Model ทำให้ CAD ที่ใช้ในการวิเคราะห์นั้นเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อกับ CAD Model ที่ต้องส่งไปทำงานด้านอื่นๆ ใน NX ต่อ ไม่ว่าจะเป็น Mold Wizard, CAM, หรือแม้แต่การส่งไปออก Drawing
 NX มี Solver ที่รองรับการวิเคราะห์ในรูปแบบต่างๆที่วิศวกรผู้ออกแบบต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ Static, Dynamic, Non-linear, CFD (Computational Fluid Dynamic) และอื่นๆ
การวิเคราะห์ทางวิศวกรรมเบื้องต้นก่อนที่จะนำไปสู่การผลิตจริงนั้น ช่วยลดข้อผิดพลาดในการผลิตได้มาก ทำให้องค์กรสามารถลดต้นทุนจากการผลิตได้ NX มี Solution ที่จะช่วยวิศวกรออกแบบได้ทำงานอย่างต่อเนื่อง มาจากขั้นตอนการออกแบบภายในซอฟแวร์เพียงซอฟแวร์เดียว โดยมีระดับของ Solution ตามระดับความต้องการของการวิเคราะห์ ดังนี้

1.      NX Strength Wizard สำหรับการวิเคราะห์ชิ้นส่วนเบื้องต้นในรูปแบบ Linear Static
2.      NX Scenario for Structures สำหรับการวิเคราะห์ชิ้นส่วนหรือโครงสร้างในรูปแบบ Linear Static
3.      NX Scenario for Motion สำหรับการวิเคราะห์ Assembly หรือกลไกที่มีการเคลื่อนที่
4.      NX Master FEM สำหรับการวิเคราะห์สำหรับวิศวกรออกแบบที่มีหน้าวิเคราะห์ไฟไนท์เอลิเม้นต์โดยเฉพาะ Solution การวิเคราะห์เป็น I-Deas NX
5.      NX Nastran พิเศษสำหรับวิศวกรวิเคราะห์งานออกแบบที่ต้องการ Solver จาก Nastran ผู้ผลิตซอฟแวร์ไฟไนท์เอลีเมนต์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก สามารถใช้ User Interface ร่วมกับ NX ได้อย่างไร้รอยต่อ








Thailand Engineering Forum




     

   
 
  บล็อคนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นความรู้ทางด้านวิศวกรรม อยากให้อุตสาหกรรมไทยบ้านเราเจริญเติบโตแข่งกับต่างประเทศได้ และเป็นการเตรียมความพร้อมต้อนรับสู่ประชาคมอาเซียน(AEC) ในปี 2558 ที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้านี้  อยากให้ทุกคนได้เตรียมความพร้อมไว้ อย่าประมาทเป็นดีที่สุดครับผม ,,, สุดท้ายแล้วผมเชื่อกฎอยู่หนึ่งซึ่งมันเป็นจริงเลยทีเดียวคือ "ยิ่งให้ ยิ่งได้"  ,,,, 










               ช่วยกันแชร์ความรู้ ช่วยการสร้างให้อุตสาหกรรมไทยยั่งยืน